อย่างที่เราได้กล่าวไว้ในตอนที่ผ่านมา ถึงการที่ทีมนั้นจะต้องมีเป้าหมายและความรับผิดชอบร่วมกันอย่างแท้จริงนั้น จำเป็นที่จะต้องมีการบริหารจัดการ ความรับผิดชอบงานร่วมกันอย่างสอดคล้องและไร้รอยต่อ ซึ่งการจะไปสู่จุดนั้นได้ ทุกคนในทีมมักจะต้องผ่านการเข้าร่วมกิจกรรม รวมถึงโปรแกรมเพื่อการสร้างทีม หรือ Team Building อย่างเข้มข้น เพื่อให้ทุกคนนั้นได้มีความเป็นทีมที่มีจุดร่วม ไม่เกี่ยงงาน พึ่งพาได้ ไว้ใจได้
แต่พอพูดถึง Team Building แล้วหลายคนมักจะนึกถึงกิจกรรมแนวละลายพฤติกรรม หรือกิจกรรมกลุ่มที่ดูแล้วซ้ำซาก น่าเบื่อหน่าย แล้วไม่รู้จะทำไปทำไมเข้าร่วมแล้วก็ยังเหมือนเดิม
อันที่จริง Team Building เป็นอะไรที่ลึกล้ำยิ่งกว่านั้น โดยวันนี้ ทางเราจะมีคำแนะนำในเชิงกลยุทธมาให้คุณได้นำไปใช้งานในการสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพได้
เริ่มจากการเลือกจ้างคน (Selective Hiring)
การสร้างทีมในบริษัท ย่อมไม่เหมือนกับตามในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย ที่การทำงานเป็นทีมอาจเกิดจากการจับผลัดจับพลูเข้ามาเรียนร่วมกัน แต่ในบริษัทนั้น คุณสามารถเริ่มได้จากการคัดคนที่มีทัศนคติ การเข้ากันได้กับวัฒนธรรมองค์กร วุฒิที่เหมาะกับงานและทีม รวมไปถึงการมี skill set ที่ต้องการ เป็นขั้นแรกที่เหมือนจะเบสิคสุดแต่ท้าทายสุด ทว่าจะส่งผลดีให้กับการสร้างทีมในระยะยาว
การสร้างกำลังใจ ต้องมีให้ (Encouragement)
ทีมที่ดีต้องมีความกล้า ความมั่นใจ และสิ่งที่จะเสริมสร้างสิ่งนั้นได้คือ การให้กำลังใจจากหัวหน้า ที่ไม่ใช่ต้องลงไปควบคุมแบบทุกระเบียดนิ้ว ทุกกระบวนท่า แต่คอยตามดูอยู่ห่างๆ กระนั้นสิ่งที่หัวหน้าต้องคอยเติมเพื่อให้ทีมสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นก็คือ การให้กำลังใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อทีมทำงานได้ดี โดยเฉพาะการทำสิ่งใหม่ๆ หรือถ้าทำงานได้แย่ ก็เน้นที่ให้กำลังใจในการพัฒนาและให้คำแนะนำในการพัฒนางานที่ทำให้ดีมากยิ่งขึ้นไป
แน่วแน่แก้ไขในสิ่งผิด (Course-Correction)
แน่นอนว่าการทำงานย่อมมีข้อผิดพลาด มีความล้มเหลว แม้แต่ทีมฟุตบอลที่เก่งที่สุดในโลกก็ยังมีช่วงฟอร์มตก หรือเตะไม่เข้าประตู แต่แทนที่จะลงมาดุด่า โทษคนในทีมให้สมาชิกในทีมทะเลาะกันเองจนแตกแยกบานปลาย หัวหน้าจะต้องพยายามในการช่วยให้สมาชิกทีมรวมไปถึงหัวหน้าทีมที่คุณแต่งตั้งขึ้นมานั้น ได้มีโอกาสแก้ไขปรับเปลี่ยนทิศทางในการดำเนินงานให้ตรงจุด เข้าเป้าที่สุด
การรับฟัง (Listening)
ในฐานะหัวหน้า การรับฟังสิ่งที่ทีม ตั้งแต่ในฐานะทีมแบบองค์รวม หรือในฐานะปัจเจกของสมาชิกในทีม คือสิ่งที่ต้องทำและจำเป็น สำหรับการพัฒนาทีม เพราะด้วยความเป็นทีมก็ย่อมมีปัญหาเป็นธรรมดา เนื่องมาจากการทำงานร่วมกันของสมาชิกทีมหลายคน อาจมีความขัดแย้ง ความคับข้อง ที่ถ้าปล่อยไว้ย่อมนำมาซึ่งบรรยากาศที่แย่ นำไปสู่ผลงานที่ต่ำกว่ามาตรฐาน ซึ่งนอกจากในการพูดคุยแบบทีม และรับฟังแบบการมีตติ้งเดี่ยวๆแล้ว อาจมีการนำระบบ Feedback System เข้ามาช่วยในการรับฟังอย่างมีความเป็นส่วนตัว ซึ่งคุณจะสามารถได้ยินเสียงที่ไม่อาจและไม่เคยได้ยินด้วย
แก้ไขปัญหาความขัดแย้ง (Conflict Management)
อย่างที่ได้กล่าวมา การทำงานร่วมกันเป็นทีมก็ย่อมมีความขัดแย้งกัน และความขัดแย้งกันนั้นก็มีทั้งดีและไม่ดี ผู้ที่เป็นหัวหน้า ที่คอยสอดส่องดูแลทีมต่างๆอีกทีหนึ่งนั้น จำเป็นที่จะต้องมีบทบาทในการลงมาปรับแก้ไข สร้างความเข้าใจ ลดความขัดแย้งที่เป็นพิษ และนำเอาความขัดแย้งเชิงบวกมาปรับใช้อย่างเป็นรูปธรรมโดยที่มีคุณนั้นเป็นตัวกลางในการจัดการ
การสร้างความสัมพันธ์อันดี (Relationship-Building)
การทำงานเป็นทีมนั้นไม่ได้หมายความว่าหลังจบงานแล้วทุกคนจะเป็นเพื่อนรักกัน สมาชิกบางคนอาจจะไม่ถูกกันในชีวิตจริงนอกงานก็มี แต่เวลาทำงานเป็นทีมกลับสามารถรับส่งกันได้อย่างเข้าขามาก วงดนตรีหลายๆวงสมาชิกวงก็ไม่ได้เป็นเพื่อนกันแต่สามารถทำดนตรี แสดงสดได้อย่างยอดเยี่ยม ในจุดนี้หัวหน้าสามารถลงมามีบทบาทในการสร้าง สานสัมพันธ์ให้สมาชิกนั้นยังมีความสัมพันธ์ในระดับ Working Relationship ที่ดีอยู่ได้ โดยยังสามารถทำงานร่วมกันได้ ถึงแม้จริงๆจะไม่กินเส้นกันก็ตาม สิ่งเหล่านี้จะช่วยสร้างบรรยากาศการทำงานที่ดีให้มากยิ่งขึ้น เมื่อมีงานใหม่เข้ามาในอนาคต
อย่างที่เราเคยได้กล่าวไว้ ว่าการหนึ่งในการสร้างทีม หรือ Team Building ข้อสำคัญคือ การรับฟัง และ การให้กำลังใจ ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจถูกมองข้ามได้ง่ายเพราะผู้จัดการอาจไม่โอกาสได้มอนิเตอร์ทีมได้ตลอด แต่ถ้ามีอุปกรณ์ในเชิง Feedback System ที่ช่วยให้คุณสามารถรับฟังเสียงลูกน้องได้รายวัน ช่วยให้การบริหารทีม และสร้างทีมที่แข็งแกร่งนั้น เต็มไปด้วยประสิทธิภาพ ลงทะเบียนเพื่อทดลองเลย: