เวลาพูดถึงคำว่าอะไรคือความสุข คุณก็อาจจะมีความคิดเห็นโต้แย้งมากมายว่า ความสุขของแต่ละคนมันไม่เหมือนกัน นิยามลำบาก

สิ่งนั้นก็ถูกต้องอยู่ เพราะ

บางคนอาจจะมีความสุขที่ได้อยู่เฉยๆ

บางคนอาจจะชอบเงิน มีความสุขที่ได้เงิน

บางคนอาจจะบ้างาน มีความสุขในการทำงาน

บางคนก็อาจจะมีความสุขในการทำสิ่งที่ไม่ดี

แต่ในด้านความสุขในที่ทำงาน หรือ Workplace Happiness นั้นมักจะมีคำนิยามที่ค่อนข้างชัด สามารถปฏิบัติได้ และจะส่งผลในเชิงบวกสำหรับการทำงาน รวมไปถึง ผลการปฏิบัติงานของพนักงานในองค์รวม โดยที่คุณนั้นไม่อาจจะละเลยได้

ดังนั้นวันนี้ เราจะขอพาคุณมารู้จักกับ Workplace Happiness กัน

Workplace Happiness คืออะไร?

ความสุขในที่ทำงานนั้นเป็นสิ่งที่สามารถนิยามได้ โดยเป็นสิ่งที่ต่างจากความสุขแบบปัจเจกที่มักยากที่จะหาการตีความที่ตายตัวเหมือนอย่างที่ทางเราได้กล่าวมาข้างต้น โดยความหมายของมันนั้นก็คือ การทำงานโดยที่มีองค์ประกอบแห่งความสุขต่างๆ ที่มีแก่นกลางที่ การมีวัฒนธรรมของที่ทำงาน อันส่งเสริมให้

พนักงานมีความสามารถในการจัดการ Work-Life Balance
พนักงานรู้สึกตัวเองมีส่วนร่วมในที่ทำงาน (Employee Engagement)
พนักงานมีหนทางเติบโตในสายอาชีพ (Career Path Development)
พนักงานมีสัมพันธภาพอันดีกับผู้จัดการ (Employee-Manager Relationship)
การสร้างความรู้สึกปลอดภัยให้กับพนักงาน (Psychological Safety)

เป็นต้น

ความเข้าใจที่ผิดเกี่ยวกับ Workplace Happiness

ถึงแม้จะมีนิยามที่ค่อนข้างจะชัดและเข้าใจได้ง่ายแล้ว ก็ไม่วายที่จะมีการเข้าใจผิดๆ นิยามผิดๆ หรือที่เรียกกันว่า การ Misconception มากมาย จนทำให้บริษัทต่างๆไม่สามารถสร้างความสุขในที่ทำงานได้อย่างที่คาดหวังกันเอาไว้ ซึ่งความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการสร้างความสุขในที่ทำงานนั้นมักจะมีดังนี้

ข้อผิดพลาด A

ที่ทำงานดูดี น้ำขนม ข้าวพร้อม เป็นปัจจัยหนึ่งแต่ไม่ใช่ทั้งหมดและไม่ครอบคลุม

เข้าใจเพียงว่า การเลี้ยงข้าวเที่ยง น้ำขนมฟรี ก็เพียงพอ

แน่นอน ใครๆก็ชื่นชอบของฟรีและความสะดวกสบาย แต่นั่นเป็นเพียงความสะดวกสบายทางร่างกาย แต่ไม่ได้สร้างความสุขในการทำงานอย่างแท้จริงให้กับพวกเขา

ข้อผิดพลาด B

การพยายามคิดเองเออเองว่า พนักงานคนนั้นชอบสิ่งนี้ คนนี้ชอบสิ่งนั้น

ข้อนี้จัดเป็นความเข้าใจที่ผิด ผิดพลาดอย่างใหญ่หลวง เป็นการนำเอาความสุขแบบปัจเจกมาปะปนกับความสุขในการทำงาน นำมาสู่การพยายามจะเติมเต็มความสุขของพนักงานที่ผิดไปเช่น การพยายามเอาใจพนักงาน A, ชื้อของให้พนักงาน B, เลี้ยงข้าวพนักงาน C ที่นอกจากจะเปลืองงบประมาณจำนวนมาก ไม่ได้ผลที่แท้จริงและยั่งยืนแล้ว ยังจะนำมาสู่ความรู้สึกของพนักงานในแง่ที่เจ้านายเหมือนเลือกที่รักมักที่ชัง ดีมากกว่าเสีย

เพราะ Workplace Happiness คือเรื่องของวัฒนธรรมการทำงาน

วัฒนธรรมการทำงานที่ดี จะช่วยให้พนักงานมีความสุข

อย่างที่เราได้ยกตัวอย่างไปข้างต้น สิ่งเหล่านั้นที่ได้กล่าวมาอาจสามารถเพิ่มความรู้สึกสะดวกสบาย รู้สึกชิล หรือมีความสุขทางกายเพิ่มขึ้นนิดหน่อย แต่ก็ไม่ได้ยั่งยืนยาวนาน หรือสร้างความสุขที่ตรงกับนิยามของ ความสุขในการทำงาน ได้เลย ตราบใดที่วัฒนธรรมการทำงานนั้น ยังคงมีปัญหา ตลอดจนถึงความ toxic ต่างๆ การเติมเต็มความสุขทางกายก็ไม่อาจช่วยให้พนักงานรู้สึกดีกับการทำงานได้เลย

จนทำให้นำมาสู่ปัญหาของ การทำงานที่ย่ำแย่ productivity ต่ำ, คุณภาพของชิ้นงานหรือบริการที่แย่ลง, จำนวนที่ลาออกที่มาก, ข่าวไม่ดีของบริษัทที่แพร่สะพัดตามสื่อและโซเชียลมีเดีย, ตลอดจนเสียงก่นด่าของลูกค้าที่จะมากขึ้นเรื่อยๆตามเวลาที่ผ่านไป จนสรุปออกมาเป็นตัวเลข performance ของบริษัทที่ย่ำแย่

ดังนั้น คุณจึงไม่ควรที่จะละเลยในการสร้างสรรค์ ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมการทำงานของบริษัทของคุณให้เอื้ออำนวยกับการสร้างความสุขในการทำงานที่แท้จริงของพนักงาน เพื่อผลลัพท์ที่ดีในระยะยาว ถ้าคุณตัดสินใจได้แล้วว่า จำเป็นต้องดำเนินการทันที

คุณสามารถลงทะเบียนที่แบบฟอร์มด้านล่าง เพื่อรับคำปรึกษาจากเรา:

Share this post