ความขัดแย้งนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา (Image: Unsplash.com)

ด้วยความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ อันเนื่องมาจากภัยของโรคระบาดที่กระจายไปทั่วโลก กับการเมืองในหลายประเทศที่ขาดซึ่งเสถียรภาพ ทำให้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินการทางธุรกิจในหลายองค์การ ซึ่งหลายบริษัทก็ต้องปรับตัวอย่างหนัก ตั้งแต่ ปรับโครงสร้างองค์กร ลดคน ลดเงินเดือน ตัดโบนัส หรือแม้แต่การปิดหน่วยธุรกิจที่ไม่จำเป็นในเวลานี้ นำมาสู่การเลย์ออฟคนงานจำนวนมหาศาล

แม้แต่บริษัทที่ไม่ได้ประสบผลร้ายมาก ก็ยังต้องปรับตัวเองเช่นเดียวกัน โดยหลายธุรกิจนั้นได้ปรับเปลี่ยนวิธีการวัดผลในการทำงาน การติดตามผล รวมไปถึงนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ หลายอย่างก็เร็วจนกระทั่งคนที่ทำงานภายในนั้นยังไม่ทันได้ตั้งตัว กับการทำ Digital Transformation ที่เกิดขึ้นโดยปัจจุบันทันด่วน และนั่นก็นำมาสู่ความขัดแย้งที่ไม่อาจเลี่ยงได้ ไม่ว่าจะระหว่างพนักงานด้วยกันเอง หรือแม้แต่ระหว่างพนักงานกับนายจ้าง จนทำให้ HR และผู้จัดการระดับกลางๆถึงขั้นสูง ต้องมารับหน้าที่เป็นด่านหน้า เป็นตัวกลาง ในการแก้ไขสถานการณ์อย่างละมุนละม่อม

วันนี้ Happily.ai ก็ได้มี 5 เทคนิค เพื่อการแก้ไขความขัดแย้ง ที่ HR ควรรู้และนำไปใช้ ถึงแม้ในสถานการณ์จริงนั้น คุณอาจจะต้องมีการดัดแปลง เสริมแต่ง หรือดึงเอาหลักจากที่อื่นเข้ามาช่วยตามความเหมาะสม

5 เทคนิคการจัดการความขัดแย้งในที่ทำงาน

มุ่งเน้นต่อเนื่อง และ ความชัดเจน ในเชิงนโยบายและขั้นตอนปฎิบัติ

ในสถานการณ์ฉุกเฉินนั้น ความขัดแย้งอาจเกิดขึ้นได้จากการเปลี่ยนแปลงนโยบายของบริษัท เพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยใช้การดำเนินนโยบายอย่างเป็นเหตุเป็นผล มีขั้นตอนปฎิบัติที่ชัดเจน และไม่สร้างความขัดแย้งกันเองเชิงนโยบายระหว่าง นโยบายใหม่ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่ กับ นโยบายเดิมในส่วนที่ยังดำเนินการอยู่ โดยคุณต้องทำงานร่วมกับฝ่ายบริหารในทุกย่างก้าวของการดำเนินการเปลี่ยนแแปลงนี้

สร้างความเชื่อมั่นให้กับทุกคนในองค์กร ในการหาทางออกของความขัดแย้ง

ความเชื่อมั่นนั้นต้องเกิดขึ้นกับพนักงานทุกคน ไม่ใช่แต่มุ่งเน้นเฉพาะส่วน ผู้จัดการ หรือ HR เพียงเท่านั้น เพราะในองค์กรนั้น การจะแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง จำเป็นจะต้องพึ่งพาความร่วมมือของพนักงานจากทุกฝั่งฝ่าย เสมือนลงเรือลำเดียวกันแล้ว โดยคุณต้องแสดงถึงศักยภาพในการเป็นผู้นำผ่านทั้ง การแสดงวิสัยทัศน์ การพูดให้กำลังใจ การแสดง Empathy และการทำการสำรวจเพื่อทำความเข้าใจในช่องว่างที่เกิดขึ้นแต่มองไม่เห็น อย่างโปร่งใส แสดงถึงความจริงใจในการแก้ปัญหา จะช่วยได้มากในการทำให้พนักงานเชื่อมั่นในความมีน้ำใสใจจริงขององค์กร และเพิ่มพูนความผูกพันระหว่างพนักงานกับองค์กรให้มากยิ่งขึ้น

ห้าม Ignore ความขัดแย้งเด็ดขาด

การ Ignore หรือเมินเฉยต่อความขัดแย้ง และคิดว่าความขัดแย้งจะจางหายไปนั้น เป็นเรื่องที่คิดผิดมหันต์ ถึงแม้บางเรื่องการหลีกเลี่ยงอาจจะแก้ปัญหาได้ แต่ส่วนมากมักจะนำไปสู่ความรุนแรงในท้ายที่สุด ดังนั้นในฐานะผู้ที่เป็นด่านหน้า คุณจำเป็นที่จะต้องเอาใจใส่กับทุกปัญหาความขัดแย้ง และแก้ไขไม่ให้บานปลาย มิฉะนั้นอาจจะนำไปสู่ความล้มเหลวของโปรเจ็ค หรือกระทั่งทั้งองค์กร

ทำความเข้าใจกับมัน

ทุกความขัดแย้งล้วนมี สาเหตุ ที่ซ่อนอยู่ภายใต้อารมณ์ที่คุกรุ่นของแต่ละฝ่าย ในขั้นตอนนี้คุณจะต้องพยายามที่จะเข้าให้ถึงแก่นของปัญหา ให้ลึกที่สุดเท่าที่คุณจะสามารถเข้าถึงได้ เพื่อการขุดรากถอนโคนต้นตอแห่งความรุนแรง

หาวิธีการเข้าถึงปัญหาที่เหมาะกับความขัดแย้งในแต่ละรูปแบบ

ความขัดแย้งในแต่ละกรณีนั้น ล้วนมาจากต้นตอ สถานการณ์ สาเหตุ ที่แตกต่างกันไป ดังนั้นคุณจะต้องนำเอาสิ่งที่คุณค้นพบจากขั้นตอนที่ผ่านมา มาค้นคว้า หา approach ที่เหมาะสมในการแก้ไขสถานการณ์ เพราะการ approach ที่ผิดวิธีนั้น อาจนำมาสู่ผลเสียที่มากกว่า

Happily.ai Happiness Temperature Barometer
มาตรวัดความสุขในการทำงาน จากแพลตฟอร์ม Happily.ai

เพราะการค้นหาสาเหตุนั้นเป็นสิ่งที่ท้าทาย ดังนั้นการนำเอา เครื่องมือเข้ามาใช้วัดอารมณ์ ความรู้สึก ความสุข ของพนักงาน นั้น จึงเป็นเสมือนการตัดไฟแต่ต้นลม นับเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่จะช่วยให้ องค์กรของคุณนั้นสามารถก้าวต่อไปอย่าง smooth แม้ในสถานการณ์ที่ล่อแหลมเช่นนี้ ด้วยเพราะคุณสามารถแก้ปัญหาได้ก่อนที่จะถูกลากยาวจนเป็นความรุนแรง และพาองค์กรสู่ขาลงแทน

โดย Happily.ai สามารถช่วยเหลือคุณได้ด้วยฟีเจอร์ Pulse Survey รวมทั้งระบบวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ซึ่งคุณสามารถทดลองใช้ได้ฟรีเพียง คลิกที่นี่ เพื่อลงทะเบียนทดลองใช้งานฟรี!

หรือหากคุณมีข้อสงสัยประการใด เช่นต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คลิ๊กด้านล่างเพื่อติดต่อทีมงานของเราได้เลย:

Share this post