Organizational Citizenship Behavior

หรือ OCB นั้น เป็นคอนเสปต์ที่ถูกพูดถึงกันมาอย่างยาวนานในวงการของการบริหารบุคคลากร ซึ่งแปลตรงตัวนั้นหมายถึง บุคลักษณะในการเป็นพลเมืองที่ดีขององค์กรโดยสมัครใจ

แต่คอนเสปต์นี้นั้นดีต่อองค์กรของคุณอย่างไร วันนี้เราจะมาพาคุณไปสำรวจถึงข้อดีของการสร้าง OCB ให้เกิดขึ้นในองค์กร เพื่ออนาคตการทำงานที่ดีกว่ากัน

การสร้าง OCB นั้นส่งผลดีต่อองค์กรคุณได้อย่างไร?

OCB นั้นจัดป็นองค์ประกอบหนึ่งในที่จะสร้างให้เกิด Wellness ที่ดีในที่ทำงาน อันเนื่องมาจากการแสดงออกของลักษณะบุคคลกร อันมีคุณภาพในระดับที่เรียกได้ว่า เป็นพลเมืองที่ดี จนกลายเป็นค่านิยมเชิงบวกในองค์กร

โดยลักษณะนิสัยเชิงบวกนั้นมีดังนี้

การมีสำนึกในหน้าที่ (Conscientiousness)

เป็นความตั้งใจที่จะทำงานอย่างสุดกำลังมาจากภายใน ต้องการให้งานที่ทำนั้นบรรลุผล หรือเหนือกว่าที่คาดหวังไว้ เช่น ตั้งเป้าไป 100% ก็อาจพยายามทำให้บรรลุไปที่ 110% โดยไม่ได้มาจากการบังคับ แต่มาจากความซื่อตรงในหน้าที่จากภายใน

ความมีน้ำใจเอื้อเฟื้อ (Altruism)

ความพร้อมในการช่วยเหลือสมาชิกอื่นๆในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงาน ลูกน้อง หัวหน้า ด้วยน้ำใสใจจริง และพร้อมที่จะแบ่งปันในด้านต่างๆ ทั้งของใช้ส่วนตัว ความรู้ ตลอดจนถึงการแบ่งปันประสบการณ์ในการทำงานที่มีมา ให้กับสมาชิกในทีมคนอื่นๆได้ทำการเรียนรู้

การเป็นสมาชิกที่ดีในสังคม (Civic Virtue)

มีความตั้งใจในการเสนอแนะ มีส่วนร่วมในการพัฒนาสิ่งต่างๆเพื่อที่จะสามารถพัฒนาไปสู่สิ่งที่ดีกว่า ไม่ว่าจะเป็นระหว่างเพื่อนร่วมทีมในการพัฒนาแผนขาย ปรับปรุงวิธีการปฎิบัติงาน เพื่อพัฒนาการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ในฐานะส่วนหนึ่งของสังคม

การคำนึงถึงผู้อื่น (Courtesy)

ในสังคมนั้นคุณต้องมีการติดต่อสื่อสารกับคนอื่นๆที่มากมาย การกระทำนั้นสามารถส่งผลกระทบถึงผู้อื่นได้ ไม่ว่าจะในทางบวกหรือลบ ดังนั้นการที่มีความคำนึงถึงผู้อื่น จึงเป็นข้อสำคัญที่จะช่วยให้พนักงานมีความระมัดระวัง มีการไตร่ตรองที่ดีก่อนที่จะทำอะไรลงไป แล้วส่งผลกระทบกับภาครวม

การมีน้ำใจนักกีฬา (Sportsmanship)

การมีความอดทนอดกลั้น มีความเข้าใจเมื่อบางสิ่งที่เกิดขึ้นในที่ทำงานไม่ได้ดั่งใจ เช่น เมื่อมีการประชุมหัวหน้าเลือกแผนงานของเพื่อนร่วมงานอีกคนหนึ่ง ก็ให้การยอมรับ และพร้อมจะช่วยเหลือปรับปรุงให้แผนลุล่วง แทนที่จะทำการทำร้ายซึ่งกันและกันทั้งทางร่างกายและทางวาจา เนื่องมาจากไม่พอใจที่มีเพื่อนร่วมงานคนใดคนหนึ่งมีความโดดเด่นเกินตน

การพัฒนาตนเอง (Self-Development)

พนักงานที่มีความรู้สึกว่าอยากจะทำอะไรใหม่ๆให้องค์กรนั้น จะมีความคิดที่จะพัฒนาตัวเองตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้จากงานแบบ on-the-job-training หรือการเข้าคอร์สในการ reskill/upskill ต่างๆ

การริเริ่มส่วนบุคคล (Individual Initiative)

นอกจากการพัฒนาตัวเองแล้ว การที่สมาชิกขององค์กรนั้นจะมีการริเริ่มในการดำเนินการสิ่งต่างๆ ที่เหมาะสมกับฐานะหน้าที่ของตัวเอง มีความกล้าที่จะทำสิ่งใหม่ หรือจัดการสิ่งที่ทำได้ในทันทีโดยที่ไม่ต้องรับคำสั่งจาก supervisor

จากคุณสมบัติทั้งหมดข้างต้น จะเห็นได้ว่าการที่พนักงานมีความเป็นพลเมืองดีในองค์กรนั้น จะช่วยสร้างประสิทธิภาพการขับเคลื่อนองค์กร และความสามารถในการแข่งขันได้อย่างมากมาย

คุณจะสร้างพลเมืองดีให้เกิดขึ้นภายในองค์กรได้อย่างไร ใช้งบมากไหม?

เนื่องจากการจัดการสร้างพฤติกรรมการเป็นพลเมืองดีในองค์กร นั้นเป็นการจัดการทางวัฒนธรรม ที่เรียกว่าการทำ Cultural Transformation ซึ่งต้องใช้เวลาพอสมควรในการจัดการเปลี่ยนแปลงให้ทุกอย่างเข้าที่เข้าทาง และต้องมีการสื่อสาร การแสดงการสนับสนุนจากผู้นำที่ชัดเจน สร้างพลังให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ซึ่งการทำ transformation เชิงวัฒนธรรมนั้นต้องมีความเข้าใจในองค์ประกอบของวัฒนธรรมองค์กรอย่างลึกซึ้งเสียก่อน

โดยหนังสือเล่มนี้จะช่วยให้คุณมีความเข้าใจในวัฒนธรรมองค์กร รวมถึงสามารถวัดสุขภาพเชิงวัฒนธรรมองค์กร ณ เวลาปัจจุบันออกมาในรูปแบบตัวเลขได้อีกด้วย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีมากถ้าคุณคิดจะ Transform องค์กรของคุณ โดยคุณสามารถดาวน์โหลดได้ฟรี เพียงคลิ๊กที่แบนเนอร์ด้านล่าง และทำตามขั้นตอนในหน้าจอถัดไป:

Share this post