รู้จักกับ Employee Effectiveness สิ่งสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของลูกจ้าง ที่นายจ้างต้องใส่ใจ

Employee Effectiveness นั้นเป็นหนึ่งในคอนเสปต์ใหม่ ของการบริหารจัดการองค์กร โดนเน้นการสร้างพนักงานที่สามารถสร้าง ประสิทธิผล แต่ยังคงมีปัจจัยมากมายที่ผู้จัดการ และ ผู้บริหารต้องคำนึงถึง เพื่อที่จะก้าวไปถึงจุดดังกล่าว
รู้จักกับ Employee Effectiveness สิ่งสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของลูกจ้าง ที่นายจ้างต้องใส่ใจ

ในช่วงเวลาที่ผ่านมา จากการนำเสนอของเรา คุณน่าจะได้คุ้นเคยกับศัพท์ที่ครั้งนึงเคยเป็นสิ่งแปลกประหลาดและยุ่งยากซับซ้อนในการทำความเข้าใจมาแล้ว อย่างเช่น Employee Engagement, Recognition, Employee Well-Being, Resilience เป็นต้น

วันนี้ Happily.ai ก็ได้มีความรู้ใหม่ๆ ที่จะมาอัพเดทให้คุณก้าวทัน การเปลี่ยนแปลงของโลกการบริหารธุรกิจ รวมไปถึง การก้าวเข้ามาของ Generation ใหม่ๆ ที่ทำให้หลักการบริหารทรัพยากรบุคคลแบบเดิมๆ นั้น ต้องล้าหลังลงไป ทำให้ต้องแสวงหาหลักการใหม่ๆ เข้ามาช่วยสร้างธุรกิจที่มีประสิทธิภาพที่จะแข่งกับคู่แข่งต่างๆ ได้ ไม่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง นั่นก็คือหลักการแห่งการสร้าง ประสิทธิผลที่เต็มเปี่ยมของพนักงาน หรือ Employee Effectiveness (โดยอันที่จริงคำนี้ ยังไม่มีคำนิยามเป็นภาษาไทยที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง ทางเราจึงขอใช้คำแปลในรูปแบบนี้ไปพลางก่อน)

Employee Effectiveness คือ อะไรกันแน่?

Employee Effectiveness นั้นคือ การสร้างและเพิ่มพูนทักษะ และ ศักยภาพ ของพนักงาน ในการที่จะก้าวไปถึงการบรรลุถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยจะเน้นไปที่ การเพิ่ม Productivity ให้มากยิ่งขึ้น อันจะนำมาถึงผลลัพธ์เชิงบวกในทางธุรกิจที่เป็นที่น่าพอใจสำหรับ stakeholders ทุกฝักฝ่าย ไม่ว่าจะเป็น นายจ้าง พนักงาน ผู้ถือหุ้น รวมทั้งลูกค้าที่พอใจจากสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ รวดเร็ว และข้อผิดพลาดน้อย

แต่การจะบรรลุการสร้างพนักงานที่มีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นที่จะต้องมีการกำหนดมาตรฐานการวัดผลในองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องด้วย

องค์ประกอบของการตรวจสอบ Employee Effectiveness

ในการสร้าง Employee Effectiveness นั้น มีหลายปัจจัยที่ผู้เป็นนายจ้างจะต้องคำนึงถึง เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการสร้างให้เกิด Effectiveness ขึ้นในหมู่พนักงาน อันจะนำมาสู่ผลดีต่อองค์กร รวมถึงผลประกอบการในภาพรวม ตามที่ได้กล่าวมาไว้ข้างต้น จะต้องมีการตรวจวัดถึงความมี Effective ในแง่มุมต่างๆ ดังนี้

นิยามคำว่า Effectiveness ให้เรียบร้อย

การจะวัดว่าใคร Effective ในการทำงานมากน้อยแค่ไหนนั้น มักจะผันแปรไปตามหน้าที่ รวมทั้งตำแหน่งของแต่ละคนในหน่วยงาน อย่างเช่น คุณคงจะใช้มาตรฐานการวัดตัวเดียวกันระหว่างฝ่ายผลิต และฝ่ายการตลาด ไม่ได้ หรือแม้แต่จะเอาการวัดผลของผู้จัดการโรงงาน มาใช้กับพนักงานฝ่ายปฏิบัติบนไลน์การผลิตก็ไม่ได้เช่นเดียวกัน

ดังนั้น ต้องเป็นหน้าที่ของคุณในการเซ็ตมาตรฐานความ effective ในแต่ละแผนก หน่วยงาน และระดับบัญชาการให้มีความชัดเจนเสียก่อน มิเช่นนั้นการวัดผลการพัฒนาจะไม่ได้ผลไปเสียหมด

ความสำคัญในการบรรลุเป้าหมาย ต้องมากกว่าการวัดชั่วโมงการทำงาน

การทำ OT มากๆ แล้วเอามาใช้ประเมินความ effective คุ้มแล้วจริงๆหรือ?

การทำงานที่ Effective นั้น คุณควรจะต้องเซ็ตการวัดผลไว้ที่ว่า ผลงานที่ออกมานั้นตรงกับเป้าหมายทั้งในส่วนแผนก และในภาพรวม สอดคล้องตอบรับกันหรือไม่ เพราะนี่คือเป้าหมายที่สำคัญจริงๆ ในการส่งผลต่อผลประกอบการ

ไม่ใช่การวัดว่า ใครทำงานเยอะ ใครเลิกดึก ใครกลับบ้านช้ากว่ากัน เพราะการวัดในรูปแบบนี้คุณจะได้แต่เวลาที่พวกเขาทำไม่ใช่ผลลัพท์ รวมทั้งการที่พวกเขาทำงานนานเกินไปนั้น นอกจากบริษัทจะต้องสูญต้นทุนไม่ว่าจะเป็น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโอทียามที่ทำงานในหน้าที่ๆ เพิ่มขึ้นมา ตัวพนักงานและทีมยังต้องจ่ายต้นทุนเป็น สุขภาพกาย ใจ นำไปสู่ การสูญเสีย key playerในทีมได้ในอนาคตอันใกล้

การให้ Feedback อย่างต่อเนื่อง หรือ Continuous Feedback

การที่เรียกมาให้ Feedback ในแต่ละเดือน หรือในแบบรายปีนั้น ย่อมไม่เพียงพอและไม่ทันกาล หลายครั้งกลายเป็นการสรุปเรื่องไม่ดีมาด่ากันเสียมากกว่า ซึ่งมักจะแปรกลายเป็นผลเสียอย่างหนักหน่วง อย่างที่เห็นชัดคือ พนักงานเสียกำลังใจ มักคิดว่าบางอย่างผิดทำไมไม่บอกกันก่อน อีกทั้งเป็นแค่เหมือนกับพยายามสร้าง impact เป็นจังหวะ ไม่ได้มีความต่อเนื่องในการพัฒนาพนักงาน ทำให้พัฒนาการเกิดการขาดหาย ไม่สร้างความ effective ในการทำงานอย่างแท้จริง

นอกจาก Daily Pulse Survey แล้ว ยังมีฟีเจอร์ด้าน Recognition และ Benefits & Rewards อีกด้วย บน Happily.ai

การทำ continuous feedback นั้นอาจจะฟังเป็นเรื่องที่ยุ่งยากเพราะต้องทำบ่อยๆ อาจจะเป็นรายวันเสียด้วยซ้ำ แต่ก็ได้มีผู้ผลิตแอปพลิเคชันหลายเจ้าได้เห็นถึงความยุ่งยากในข้อนี้ จนออกมาเป็นเครื่องมือที่ใช้งานง่าย เช่น Happily.ai กับระบบ Daily Pulse Survey กับคำถามสั้นๆ ง่ายๆ และระบบคำถามปลายเปิดที่ช่วยให้ลูกจ้างและหัวหน้างานสามารถแลกเปลี่ยน feedback ซึ่งกันและกันได้เป็นประจำทุกวัน

ระบบ Peer Feedback ที่ต้องหมั่นเอาใจใส่

อย่าเพิ่งเข้าใจผิด เราไม่ได้ทำการสนับสนุนให้พนักงานนั้นด่า แทงข้างหลัง หรือ ทำร้ายจิตใจซึ่งกันและกัน แต่คนที่ทำงานใกล้ชิดกับพนักงานมากที่สุด ก็คือ พนักงานในทีมเดียวกัน ที่จะมีความใกล้ชิดกันยิ่งกว่าหัวหน้ากับพนักงานเสียอีก ทำให้รู้ว่าจุดไหนที่ดี จุดไหนที่ควรปรับปรุง ในมุมมองเพื่อนร่วมทีมต่อเพื่อนร่วมทีม ผลักดันให้เกิดการพัฒนาไปข้างหน้า ไม่ใช่เพียงแค่ความเห็นของหัวหน้าต่อลูกทีมเท่านั้น

Happily.ai Peer Feedback System

ดังนั้น การที่ให้พนักงานนั้น สามารถมอบรีวิวให้แก่กันได้ จึงเป็นสิ่งที่จะช่วยทั้งการวัดผล และการเร่งการพัฒนาไปให้ได้ถึงขีดสุด โดยระบบการให้ peer feedback ที่ดีนั้นควรเปิดให้พนักงานนั้นสามารถพูดถึงข้อดี และข้อควรปรับปรุงซึ่งกันและกันได้ โดยคุณสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยระบบ Happily Monthly Peer Feedback ที่เปิดโอกาสให้พนักงานสามารถเลือกเพื่อนร่วมงาน 2 คน ที่เขาวางใจและพร้อมจะรับฟังความเห็น มาทำการประเมินให้พวกเขาได้

คุณเองก็สามารถเริ่มสร้างความ effective ได้แล้ววันนี้ เพียงลองนำเอา Happily.ai เข้าไปใช้ในองค์กรของคุณ เพียงลงทะเบียนบน Waiting List ของเรา เพื่อทดลองใช้งานจากเราฟรี!

Subscribe to Smiles at Work | The Official Happily.ai Blog newsletter and stay updated.

Don't miss anything. Get all the latest posts delivered straight to your inbox. It's free!
Great! Check your inbox and click the link to confirm your subscription.
Error! Please enter a valid email address!