MyCulture คืออะไร? - แนะนำขั้นตอนการใช้เครื่องมือประเมินวัฒนธรรมองค์กร

Happily เปิดตัว MyCulture คือเครื่องมือหนึ่งในการประเมินวัฒนธรรมองค์กร เพื่อให้องค์กรมีเครื่องมือในการประเมินทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถปรับแต่งให้เหมาะสมกับวัฒนธรรม และค่านิยมองค์กรของตนเอง
MyCulture คืออะไร? - แนะนำขั้นตอนการใช้เครื่องมือประเมินวัฒนธรรมองค์กร

MyCulture คืออะไร?

MyCulture คือเครื่องมือหนึ่งในการประเมินวัฒนธรรมองค์กรที่สร้างโดย Happily.ai แพลตฟอร์มสร้างเสริมประสบการณ์พนักงานในองค์กรที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงด้วยการใช้วิทยาศาสตร์บุคคล และการวิเคราะห์ข้อมูล โดย Happily เปิดตัว MyCulture เพื่อให้องค์กรมีเครื่องมือในการประเมินทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถปรับแต่งให้เหมาะสมกับวัฒนธรรม และค่านิยมองค์กรของตนเอง

ในบทความนี้จะเราแนะนำขั้นตอนการใช้งาน MyCulture อย่างละเอียด

คุณจะใช้งาน MyCulture อย่างไร?

หลังจากสร้างบัญชี และลงชื่อเข้าใช้งานกับ MyCulture แล้ว คุณจะสามารถสร้างแบบประเมินได้เลย โดยมี 4 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ 1: สร้างและตั้งชื่อแบบประเมิน

ขั้นตอนที่ 1 ตั้งชื่อแบบประเมิน และเลือกว่าสร้างแบบประเมินนี้สำหรับใคร

คุณต้องการใช้ MyCulture เพื่อประเมินพนักงานใหม่ เพื่อดูความเข้ากันได้ทางวัฒนธรรม (Culture Fit) หรือเปล่า?

หรือคุณต้องการใช้ MyCulture เพื่อประเมินความเข้ากันกับวัฒนธรรมองค์กรของสมาชิกในทีมปัจจุบันของคุณ?

หรือคุณต้องการใช้ประเมินผู้สมัครงานที่มีแนวโน้มจะเข้ามาร่วมงานที่คุณเลือกแล้วแต่ยังไม่แน่ใจว่าพวกเขาเหมาะกับวัฒนธรรม และหลักปฏิบัติขององค์กรที่มีหรือไม่? ตัวอย่างเช่น บริษัท B2B ขนาดกลางต้องการใช้ MyCulture เพื่อประเมิน Culture Fit สำหรับการว่าจ้างผู้สมัครงาน

ขั้นตอนที่ 2 เลือกหมวดที่คุณต้องการทดสอบ

คุณต้องการประเมิน Culture Fit ในด้านใดบ้าง เพื่อประกอบการตัดสินใจในการจ้างงาน? MyCulture มีหมวดหมู่ให้คุณได้เลือกประเมินในหลายด้าน ประกอบไปด้วย

  1. ค่านิยมและลักษณะนิสัย - หมวดนี้จะวิเคราะห์การคาบเกี่ยวกันระหว่าง ค่านิยม และลักษณะนิสัยเด่นของผู้สมัครกับสิ่งที่บริษัทมองเห็นว่าสำคัญ

    ค่านิยมและลักษณะนิสัยที่กล่าวถึงกันทั่วไป ได้แก่ ความเคารพซึ่งกันและกัน (Respect), ความอ่อนน้อมถ่อมตน (Humility), การทำงานหนัก (Hard-working), ความเห็นอกเห็นใจ (Empathetic), ความพยายามอุตสาหะ (Perseverance) และอื่น ๆ ถ้าค่านิยมและลักษณะนิสัยของผู้สมัครสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกับค่านิยมของบริษัท จะทำให้ HR และผู้จัดการที่ทำการว่าจ้างมีความมั่นใจเพิ่มมากขึ้นว่าผู้สมัครคนนี้จะได้รับการว่าจ้าง และช่วยลดความเสี่ยง และค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการลาออกของพนักงานในอนาคต
  2. รูปแบบวัฒนธรรมองค์กร - หมวดนี้เราใช้กรอบการแข่งขันทางค่านิยมจากเครื่องมือวัดวัฒนธรรมองค์กร (Organizational Culture Assessment Instrument - OCAI) เพื่อวิเคราะห์การเข้ากันระหว่างรูปแบบองค์กรในอุดมคติของผู้สมัคร และรูปแบบที่องค์กรเป็นอยู่ โดยมีต้นแบบ 4 แบบด้วยกันคือรูปแบบที่เน้น การร่วมมือ (Collaborate), การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ (Create), การแข่งขัน (Compete) และการควบคุม (Control) โดยเราจะทำการประเมินใน 6 มิติด้านการทำงาน
  3. พฤติกรรมที่ยอมรับได้ - หมวดนี้เราจะทดสอบและวิเคราะห์สิ่งที่ผู้สมัครรู้สึกว่าเป็น “พฤติกรรมที่ยอมรับได้” ในสถานที่ทำงาน ตัวอย่างเช่น  ผู้สมัครรู้สึกอย่างไรกับ “การเข้าประชุมสายบ่อย ๆ ” หรือ “การส่งงานช้าโดยที่ไม่ได้มีการสื่อสารหรือการบอกล่วงหน้า” พฤติกรรมนี้ ยอมรับได้, ไม่พอใจ, ไม่สนับสนุน, ควรมีการตำหนิลงโทษ หรือ ยอมรับไม่ได้อย่างเด็ดขาด?

    มาดูว่าระหว่างองค์กรของคุณและผู้สมัคร ยังมีช่องว่างอะไรบ้างในแง่ของพฤติกรรมไหนที่ยอมรับได้ และไม่ได้ เพื่อหาหนทางในการขจัดพฤติกรรมที่จะเป็นพิษกับองค์กรตั้งแต่เริ่มต้น เพราะ คุณคงไม่ต้องการได้ยินผู้สมัครพูดว่า “อืม ก็ฉันทำได้ในงานที่เก่าของฉัน” หรือ “หัวหน้าเก่าไม่สนใจเรื่องนี้หรอก”
  4. ค้นหาสไตล์การทำงาน - หมวดนี้จะช่วยให้องค์กรระบุสไตล์การทำงานของผู้สมัครจากการใช้กรอบแนวคิด 3P: People - ผู้คน, Product - ผลลัพธ์, หรือ Process - ขั้นตอน ซึ่งการทำความเข้าใจกับสไตล์การทำงานของแต่ละคน นั้น จะทำให้เราเข้าใจแนวโน้มในการทำงาน และสามารถสร้างความหลากหลายภายในทีมได้ และนี่คือความแตกต่างของทั้ง 3P:
  • Product - ผลลัพธ์: ผู้สมัครเป็นนักปฏิบัติและบริหารหรือไม่?  พวกเขาขับเคลื่อนด้วยการสร้างผลลัพธ์หรือไม่?
  • Process - ขั้นตอน: ผู้สมัครเป็นนักคิด เรียนรู้ และวางแผนหรือไม่? จุดแข็งของพวกเขาคือการคิดวิเคราะห์อย่างถี่ถ้วน และเน้นย้ำรายละเอียดใช่หรือไม่?
  • People - ผู้คน: ผู้สมัครเป็นนักสร้างความสัมพันธ์หรือไม่? พวกเขาเข้าใจผู้คนและรู้ว่าจะดึงส่วนที่ดีที่สุดจากคนอื่น ๆ มาได้อย่างไรใช่หรือไม่?


โดยเราจะแบ่งสไตล์การทำงานในแต่ละด้านของผู้สมัครออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์: เพื่อบอกว่าผู้สมัครมีสไตล์การทำงานเป็น Product, People, หรือ Process มากน้อยเพียงใด

ขั้นตอนที่ 2: เลือกหมวดลงในแบบสอบถาม

ขั้นตอนที่ 3: กำหนดวัฒนธรรมการทำงานของคุณ

เมื่อคุณเลือกหมวดที่ต้องการในแบบทดสอบได้แล้ว ก็ถึงเวลาที่ต้องตั้งค่า กำหนดค่านิยมองค์กร ลักษณะนิสัย รูปแบบวัฒนธรรม และพฤติกรรมที่ยอมรับได้

นี่คือตัวอย่างว่า MyCulture จะช่วยให้คุณกำหนดค่านิยมองค์กร และรูปแบบวัฒนธรรมองค์กรได้อย่างไร กรอกรายละเอียดในส่วนนี้เพื่อแสดงวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ขององค์กรคุณ

ขั้นตอนที่ 3: กำหนดค่านิยมองค์กรและลักษณะนิสัย
ขั้นตอนที่ 3: กำหนดรูปแบบวัฒนธรรมองค์กร

ขั้นตอนที่ 4: ตรวจสอบและเผยแพร่

เมื่อคุณได้สร้างแบบประเมินวัฒนธรรมที่ปรับให้เหมาะกับองค์กรของคุณสำเร็จแล้ว คุณสามารถส่งแบบประเมินนี้ไปยังพนักงานใหม่ ผู้สมัครที่มีแนวโน้มจะเข้ามาร่วมงาน หรือแม้แต่สมาชิกภายในทีมของคุณได้เลย

ขั้นตอนที่ 4: ตรวจสอบและเผยแพร่แบบประเมิน

คุณสามารถส่งคำเชิญไปยังผู้สมัครเพื่อให้พวกเขาทำแบบประเมินที่คุณเพิ่งสร้างขึ้นมาได้เลยในตอนนี้

นี่คือตัวอย่างของผู้สมัครที่ทำแบบประเมินเสร็จ และคุณจะสามารถประเมินความเหมาะสมได้อย่างไร โดย MyCulture จะแสดงตัวเลขจากคะแนนเต็ม 100% เพื่อทำให้สามารถวัดค่าได้ และง่ายต่อการประเมิน Culture Fit

ตัวอย่างรายงานแบบประเมิน Culture Fit

จากตัวอย่างข้างต้น ผู้สมัครมีความเหมาะสม กับค่านิยมองค์กรและลักษณะนิสัยที่องค์กรมองหาถึง 87%เข้ากันได้กับรูปแบบวัฒนธรรมองค์กร 73%   และมีความเข้าใจในเรื่องพฤติกรรมที่ยอมรับได้ 67% ในกรณีนี้ผู้จัดการที่ทำการว่าจ้างหรือ HR อาจจะใช้โอกาสนี้เพื่อพูดคุยถึงบรรทัดฐานทางพฤติกรรมที่ยอมรับได้ภายในองค์กรก่อนการจ้างงานผู้สมัคร เพื่อทำให้แน่ใจอีกครั้งว่าผู้สมัครจะเข้าใจ และสามารถปฏิบัติตามพฤติกรรมเหล่านั้นได้นอกจากนี้ รูปแบบวัฒนธรรมสามารถนำมาวิเคราะห์เพิ่มเติมตามรายละเอียดดังต่อไปนี้ได้อีกด้วย

  1. ผู้สมัครมีความสัมพันธ์กับรูปแบบความเป็นผู้นำที่องค์กรอย่างไร?
  2. ผู้สมัครมีความสัมพันธ์กับรูปแบบการบริหารจัดการอย่างไร?
  3. อะไรคือความคาบเกี่ยวกันระหว่างสิ่งที่ผู้สมัครต้องการให้องค์กรเน้นย้ำกับกลยุทธ์ที่องค์กรเน้นย้ำ?

ปัจจัยเหล่านี้เป็นข้อมูลเชิงลึกที่มีความเกี่ยวข้องและมีคุณค่าอย่างมากสำหรับผู้จัดการที่ทำการว่าจ้างหรือสำหรับองค์กรที่ต้องการ

  1. ลดอัตราการลาออกของพนักงาน
  2. เพิ่มความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน
  3. ลดค่าใช้จ่ายในการจ้างงาน
  4. สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแรงและมีความร่วมไม้ร่วมมือกัน
ตัวอย่างรูปแบบวัฒนธรรมในรายงานแบบประเมิน

Subscribe to Smiles at Work | The Official Happily.ai Blog newsletter and stay updated.

Don't miss anything. Get all the latest posts delivered straight to your inbox. It's free!
Great! Check your inbox and click the link to confirm your subscription.
Error! Please enter a valid email address!