แบบประเมินวัฒนธรรมองค์กร (Culture Assessment Tool)

บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจแบบประเมินวัฒนธรรมองค์กรมากขึ้นว่า แบบประเมินนี้คืออะไร เป้าหมายคืออะไร ทำไมองค์กรหลายแห่งจึงใช้ ใครเหมาะที่จะใช้ วิธีการจัดทำ และประโยชน์ที่จะได้รับคืออะไร
แบบประเมินวัฒนธรรมองค์กร (Culture Assessment Tool)
Photo by Jason Goodman / Unsplash

วัฒนธรรมองค์กร (Organizational Culture) คือองค์ประกอบสำคัญที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม ค่านิยม และความเชื่อแก่พนักงานในองค์กร วัฒนธรรมองค์กรก่อเกิดจากผู้บริหาร/ผู้นำองค์กร กลยุทธ์ทางธุรกิจ และสภาพแวดล้องการทำงาน และสร้างผลกระทบต่อขวัญกำลังใจและ Productivity ของพนักงาน องค์กรจึงต้องคอยประเมินและตรวจสอบ Culture เป็นระยะ เพื่อทำให้มั่นใจว่า Culture เป็นไปในแนวทางที่องค์กรต้องการ ตอบโจทย์ธุรกิจและค่านิยมขององค์กร

วัฒนธรรมองค์กรที่ดีจะส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงาน (Performance) การสื่อสาร และความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งในองค์กร ในทางกลับกัน วัฒนธรรมองค์กรที่แย่จะบั่นทอนกำลังใจการทำงาน ทำให้ Performance ลดลง และมีการหมุนเวียนพนักงาน (Turnover) สูง

ข้อมูลจากแบบประเมินวัฒนธรรมองค์กรจะทำให้เห็นภาพของวัฒนธรรมองค์กร ณ ช่วงเวลานั้น ๆ ได้ชัดเจนขึ้น และทำให้ทราบจุดที่ต้องพัฒนาและปรับปรุง บทความชิ้นนี้จะให้ข้อมูลภาพรวมของเครื่องมือประเมินวัฒนธรรมองค์กร ประกอบด้วยจุดประสงค์ของแบบประเมิน การทำงานของแบบประเมิน ทำไมองค์กรหลายที่จึงเลือกใช้ ใครจะได้ประโยชน์จากแบบประเมินนี้รวมทั้งวิธีนำไปใช้งาน ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้นำองค์กร ฝ่ายบุคคล หรือผู้ให้คำปรึกษา (Consultant) หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์แก่คุณและองค์กรของคุณไม่มากก็น้อย โดยบทความชิ้นนี้จะประกอบไปด้วย

  1. แบบประเมินวัฒนธรรมองค์กร (Culture Assessment Tool) คืออะไร?
  2. เป้าหมายของแบบประเมินคืออะไร?
  3. ทำไมองค์กรหลายแห่งจึงใช้แบบประเมินวัฒนธรรมองค์กร?
  4. แบบประเมินวัฒนธรรมองค์กรเหมาะกับใคร?
  5. จัดทำแบบประเมินวัฒนธรรมองค์กรอย่างไร?
  6. ประโยชน์ของแบบประเมินวัฒนธรรมองค์กรอย่าง MyCulture คืออะไร?

แบบประเมินวัฒนธรรมองค์กร (Culture Assessment Tool) คืออะไร?

แบบประเมินทางวัฒนธรรมช่วยให้องค์กรประเมินและตรวจวัดสภาพของวัฒนธรรมองค์กรในปัจจุบัน แบบประเมินลักษณะนี้โดยปกติจะเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับค่านิยม ความเชื่อ และพฤติกรรมที่พบได้บ่อยในองค์กรจากหลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นแบบประเมินรายวัน (Daily Pulse Survey) การสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) เป้าหมายก็คือเพื่อให้ข้อมูลที่ครอบคลุมและรอบด้านเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กรและระบุจุดแข็งและจุดอ่อน องค์ประกอบที่ถูกประเมินที่พบได้โดยทั่วไปคือ ภาวะผู้นำ การสื่อสาร การทำงานเป็นทีม กระบวนการตัดสินใจและการยึดถือค่านิยมแนวทางเดียวกันกับองค์กร

เครื่องมือเช่นนี้ ฝ่ายบุคคลจะนำไปใช้เพื่อตรวจสอบและระบุว่าส่วนใดของวํฒนธรรมองค์กรแข็งแรงดีแล้ว และส่วนใดยังต้องปรับปรุง

เป้าหมายของแบบประเมินวัฒนธรรมองค์กรคืออะไร?

เพื่อประเมินและตรวจวัดสภาพของวัฒนธรรมองค์กรในปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น

  1. เพื่อประเมินความเข้ากันได้เชิงวัฒนธรรม (Culture Fit) ที่เกี่ยวข้องกับค่านิยมและความเชื่อของผู้สมัครงานที่มีศักยภาพก่อนที่จะตกลงว่าจ้าง
  2. ประเมินเพื่อทำให้มั่นใจว่าพนักงานใหม่จะไปด้วยกันไปกับรูปแบบและสภาพแวดล้อมการทำงานขององค์กร

ฝ่ายบุคคลจะเข้าใจความเชื่อ ค่านิยมและแนวทางการปฏิบัติในองค์กรที่ได้ดีขึ้นผ่านข้อมูลที่ได้รับจากแบบประเมินข้างต้น และนำข้อมูลที่ได้ไปช่วยประกอบการตัดสินใจเรื่องการสร้างและพัฒนาให้ Culture ไปต่อได้ ซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี มี Productivity และเพิ่มความผูกพันต่องานและองค์กร (Employee Engagement) เพียงแค่จัดทำแบบประเมินวัฒนธรรมเป็นประจำ องค์กรก็จะมั่นใจได้ว่ามี Culture ที่สนับสนุนเป้าหมายขององค์กร และนำไปสู่ความผูกพันและมีส่วนร่วมในองค์กรของพนักงาน ทำให้องค์กรเติบโตและประสบความสำเร็จ

ทำไมองค์กรหลายแห่งจึงใช้แบบประเมินวัฒนธรรมองค์กร?

มีหลากหลายเหตุผลที่ผลักดันให้องค์กรจัดทำแบบประเมินวัฒนธรรมองค์กร ตัวอย่างเช่น องค์กรอาจจะหาวิธีการเพิ่มขวัญกำลังใจของพนักงาน และเพิ่ม Employee Engagement หรือ องค์กรอยากระบุปัญหาหรือความท้าทายที่มีผลกระทบต่อวัฒนธรรมองค์กร เป็นต้น นอกจากนี้แบบประเมินวัฒนธรรมองค์กรสามารถนำมาใช้เพื่อเป็นเครื่องมือที่ช่วยเติมเต็มให้ Culture เป็นไปในแนวทางเดียวกันกับกลยุทธ์และเป้าหมายองค์กรได้อีกด้วย และเหตุผลที่พบได้บ่อยครั้งมีดังนี้

  1. เพื่อระบุพื้นที่ที่ต้องพัฒนา: แบบประเมินวัฒนธรรมองค์กรสามารถช่วยระบุว่าส่วนใดของวัฒนธรรมองค์กรที่ขัดขวางเป้าหมายขององค์กร เช่น หากพนักงานรายงานว่า มีความเชื่อมั่นในองค์กรต่ำ หรือการสื่อสารไม่มีคุณภาพ ก็อาจบ่งบอกได้ว่า วัฒนธรรมองค์กรไม่ได้สนับสนุนให้เกิดการสร้างนวัตกรรมและการทำงานร่วมกัน (Collaboration)
  2. เพื่อติดตามความก้าวหน้า: หากจัดทำแบบประเมินองค์กรเป็นประจำ องค์กรสามารถตรวจเช็คและติดตามผลของเครื่องมือหรือวิธีการที่องค์กรใช้เพื่อการเปลี่ยนแปลงในเชิงวัฒนธรรมองค์กรได้
  3. เพื่อทำให้วัฒนธรรมเป็นไปแนวทางเดียวกับเป้าหมายขององค์กร: แบบประเมินลักษณะนี้ ช่วยให้องค์กรมั่นใจได้ว่า วัฒนธรรมองค์กรเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับเป้าหมายและค่านิยมองค์กร เพื่อช่วยสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่สนับสนุนและส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงาน (Performance)
  4. เพื่อสร้างความผูกพันต่อองค์กร: แบบประเมินวัฒนธรรมองค์กรเปิดโอกาสให้พนักงานได้แสดงความเห็นและแชร์ประสบการณ์ ซึ่งช่วยสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของและสร้างความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร
  5. เพื่อดึงดูดและรักษาคนเก่งไว้ในองค์กร: วัฒนธรรมองค์กรที่ดีคือปัจจัยหลักที่ช่วยดึงดูดและรักษาคนเก่งไว้ให้นาน เพียงแค่ประเมินและพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรเป็นประจำ องค์กรก็สามารถสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่สามารถดึงดูดให้คนเก่งเข้ามาร่วมงานได้

แบบประเมินวัฒนธรรมองค์กรเหมาะกับใคร?

ผู้ที่ใช้แบบประเมินวัฒนธรรมองค์กรประกอบด้วยหลายกลุ่ม คือ

  1. ผู้บริหารระดับสูง: แบบประเมินจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้บริหารเข้าใจผลกระทบของรูปแบบการบริหารของตนเอง รวมถึงช่วยให้ตัดสินใจเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมองค์กรได้ดียิ่งขึ้น
  2. พนักงานฝ่ายบุคคล: พนักงานฝ่ายบุคคลสามารถนำแบบประเมินไปใช่เพื่อระบุปัญหาที่เกี่ยวข้องกับ Employee Engagement, การรักษาพนักงาน (Retention) และประสิทธิภาพการทำงาน (Performance)

พนักงานก็ใช้ประโยชน์จากแบบประเมินวัฒนธรรมองค์กรได้เช่นเดียวกัน เช่น การให้ข้อมูลและ Feedback ผ่านแบบประเมิน เป็นต้น การทำให้พนักงานมีส่วนร่วมในขั้นตอนการประเมินวัฒนธรรมแบบนี้จะช่วยให้องค์กรเห็นภาพของวัฒนธรรมองค์กรได้อย่างครอบคลุมรอบด้านมากขึ้น รวมทั้งเข้าใจมากขึ้นว่า ปัจจัยอะไรที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมองค์กร เช่นนี้แล้ว องค์กรก็จะมั่นใจได้ว่า กระบวนการพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรได้นำมุมมองและประสบการณ์ของผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากเรื่องนี้โดยตรงเข้ามาร่วมพิจารณาด้วยแล้ว

จัดทำแบบประเมินวัฒนธรรมองค์กรอย่างไร?

ขั้นตอนการจัดทำแบบประเมินวัฒนธรรมองค์กรมีดังต่อไปนี้

1. กำหนดค่านิยมและลักษณะนิสัย: เริ่มต้นจากกำหนดเป้าหมายที่องค์กรอยากทำ เพื่อช่วยเป็นแนวทางในกระบวนการประเมินวัฒนธรรมองค์กร

💡
หากคุณยังมองหาวัฒนธรรมและค่านิยมองค์กรที่ใช่และเหมาะสมกับคุณ อ่านเพิ่มเติมวิธีการสร้างวัฒนธรรมองค์กรได้ที่นี่

2. ระบุมิติของวัฒนธรรมองค์กรที่ต้องการประเมิน: เนื่องจากวัฒนธรรมองค์กรมีหลายแง่มุมให้เลือกประเมิน เช่น ภาวะผู้นำ การสื่อสาร การร่วมมือกันทำงาน และนวัตกรรม ดังนั้นองค์กรจึงควรเลือกมิติสำคัญที่ต้องประเมินให้ชัดเจน

3. เลือกเครื่องมือและวิธีการที่เหมาะสม: ปัจจุบันมีเครื่องมือช่วยประเมินวัฒนธรรมมากมาย MyCulture ก็เป็นหนึ่งในนั้น และใช้เวลาไม่นานเพียง 15 นาทีเท่านั้น (ทดลองได้ที่นี่) องค์กรจำเป็นต้องเลือกเครื่องมือที่เหมาะกับเป้าหมายและมิติของวัฒนธรรมองค์กรที่ต้องการประเมิน

4. รวบรวมข้อมูล: เมื่อเลือกเครื่องมือได้แล้ว ก็ถึงคราวที่จะต้องเก็บรวบรวมข้อมูลจากทั้งพนักงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ อาจจะเก็บข้อมูลผ่านการสัมภาษณ์พนักงาน พนักงานใหม่หรือผู้สมัครที่มีศักยภาพ และเมื่อได้ข้อมูลมาแล้วก็ควรวิเคราะห์เพื่อหารูปแบบ แนวโน้มและพื้นที่ที่ต้องปรับปรุง

5. เฝ้ามองและวัดประสิทธิภาพของแผนงาน: เมื่อดำเนินการแล้ว ก็ต้องติดตามและประเมินผลวัดประสิทธิภาพของแผนงาน เพื่อให้มั่นใจว่าจะเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ และจะทำให้เกิดวํมนธรรมองค์กรที่มีประสิทธิภาพขึ้นได้จริง ๆ

MyCulture ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง เราขอเชิญคุณเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์เพื่อศึกษาวิธีการเริ่มต้นใช้งานได้ทันที

ประโยชน์ของแบบประเมินวัฒนธรรมองค์กรอย่าง MyCulture คืออะไร?

องค์กรหลายแห่งใช้แบบประเมินวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือในการเพิ่ม Productivity ของทีม ความสอดคล้องกัน ลดต้นทุนการหมุนเวียนของพนักงาน และเพิ่มข้อมูลเพื่อช่วยในการตัดสินใจว่าจ้าง ประโยชน์ที่จะได้รับจากแบบประเมินลักษณะนี้คือ

1. เพิ่ม Productivity และความสอดคล้องกันของทีม: ด้วยเครื่องมือแบบประเมินวัฒนธรรมอย่าง MyCulture จะช่วยให้องค์กรสามารถประเมินผู้สมัครงานได้อย่างแม่นยำขึ้นว่า พวกเขาเป็นไปในทางเดียวกันกับค่านิยมและเป้าหมายองค์กรหรือไม่ ซึ่งจะช่วยให้เกิดการร่วมมือกันทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากคนในทีมจะเข้าใจและเคารพความแตกต่างของแต่ละคนและทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น

💡
เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์เพื่อศึกษาวิธีการเริ่มต้นใช้งาน MyCulture ได้ทันที

2. ลดต้นทุนการหมุนเวียนพนักงาน: หากองค์กรทราบว่า ยังมีช่องว่างหรือความไม่เข้ากันเกิดขึ้นระหว่างค่านิยมที่พนักงานยึดถือกับที่องค์กรยึดถือ MyCulture จะช่วยองค์กรลดต้นทุนการหมุนเวียนพนักงานที่เกิดขึ้นเนื่องจากความเข้าใจผิดและความไม่ไปในแนวทางเดียวกันกับองค์กร

3. ประเมินความเข้ากันได้ของวัฒนธรรมก่อนตกลงว่าจ้าง: MyCulture คือแบบประเมินทางวัฒนธรรมที่มีการรับรองทางวิทยาศาสตร์ ช่วยประเมินความเข้ากันได้ทางวัฒนธรรม (Culture Fit) การนำข้อมูลที่ได้รับจากแบบประเมินมาช่วยในขั้นตอนการสรรหาจะทำให้องค์กรมั่นใจได้ว่า พนักงานใหม่ในอนาคตจะเข้ากันได้ดีกับทีมและองค์กร และช่วยส่งเสริมให้องค์กรเติบโต นั่นคือลดความผิดพลาดที่อาจะเกิดขึ้นในการสรรหาพนักงานใหม่

💡
อ่านเพิ่มเติมเครื่องมืออื่น ๆ ที่ช่วยสรรหาพนักงานให้ Culture Fit ได้ที่นี่

โดยสรุปแล้ว การใช้แบบเมินวัฒนธรรมองค์กรที่มีประสิทธิภาพ อย่าง MyCulture จะช่วยให้องค์กรเพิ่ม Productivity ของทีม ทำให้ทีมทำงานร่วมกันอย่างราบรื่นยิ่งขึ้น ช่วยลดต้นทุนการหมุนเวียนพนักงานและช่วยให้การสรรหาพนักงานใหม่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แบบประเมินลักษณะนี้ช่วยวให้ข้อมูลในการประเมิน Culture Fit หรือความเข้ากันได้เชิงวัฒนธรรมอย่างครอบคลุมรอบด้าน องค์กรก็จะสร้างทีมที่แข็งแกร่งและทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีและสนับสนุนพนักงานต่อไป

MYCULTURE - Culture Assessment Tool

Subscribe to Smiles at Work | The Official Happily.ai Blog newsletter and stay updated.

Don't miss anything. Get all the latest posts delivered straight to your inbox. It's free!
Great! Check your inbox and click the link to confirm your subscription.
Error! Please enter a valid email address!