สิ่งที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับ Culture Fit พร้อมชุดคำถามการประเมิน Culture Fit

Culture Fit เป็นปัจจัยที่สำคัญอันหนึ่งที่องค์กรใช้พิจารณาเมื่อมีการคัดสรรพนักงานใหม่เข้ามาร่วมงานในองค์กร การมี Culture Fit หมายถึงการที่แต่ละคนแชร์ค่านิยมและความเชื่อเดียวกันกับค่านิยมขององค์กร และสามารถทำให้พฤติกรรมมีความสอดคล้องกับเป้าหมายและจุดประสงค์ขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สิ่งที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับ Culture Fit พร้อมชุดคำถามการประเมิน Culture Fit
Photo by Redd F on Unsplash

อะไรคือ Culture Fit แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร

ในบทความนี้เราจะพูดถึง Culture Fit และวิธีการประเมิน Culture Fit โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้

  1. Culture Fit คืออะไร
  2. ประโยชน์ของการมี Culture Fit ในองค์กร
  3. แผนกทรัพยากรบุคคลหรือ HR เป็นผู้ดูแลเรื่องการมี Culture Fit องค์กรใช่หรือไม่
  4. Culture Fit Assessment Test หรือแบบทดสอบประเมิน Culture Fit คืออะไร
  5. คำถามสำหรับการประเมิน Culture Fit มีอะไรบ้าง

Culture Fit คืออะไร

Culture Fit เป็นปัจจัยที่สำคัญอันหนึ่งที่องค์กรใช้พิจารณาเมื่อมีการคัดสรรพนักงานใหม่เข้ามาร่วมงานในองค์กร การมี Culture Fit หมายถึงการที่แต่ละคนแชร์ค่านิยมและความเชื่อเดียวกันกับค่านิยมขององค์กร และสามารถทำให้พฤติกรรมมีความสอดคล้องกับเป้าหมายและจุดประสงค์ขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าค่านิยม ความเชื่อ และพฤติกรรมของแต่ละบุคคลเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญต่อการกระทำ การตัดสินใจ และส่งผลอย่างมากต่อองค์กรในทุกมิติ เมื่อแต่ละคนมี Culture Fit กับองค์กรมากจะนำไปสู่การสื่อสาร ความร่วมมือ และความสำเร็จในภาพรวมขององค์กรที่ดียิ่งขึ้น

ประโยชน์ของการมี Culture Fit ในองค์กร

หลาย ๆ องค์กรต้องแน่ใจได้ว่าองค์กรของตนมี Culture Fit เพราะว่าสิ่งนี้ส่งผลอย่างมากต่อความสำเร็จขององค์กร เมื่อแต่ละคนมี Culture Fit มาก ๆ กับองค์กร จะนำไปสู่การสื่อสาร ความร่วมมือ และความสำเร็จในภาพรวมขององค์กรที่ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่เป็นหนึ่งเดียวกันและส่งเสริมความรู้สึกถึงการเป็นชุมชน (Community) และความสัมพันธ์อันดีระหว่างพนักงานในองค์กร ซึ่งนำไปสู่ความพึงพอใจในงานที่เพิ่มมากขึ้น นั่นก็คือพนักงานรู้สึกสนุกกับงานที่ทำและรู้สึกว่างานของตนเองมีคุณค่า เมื่อพวกเขาสามารถทำให้ค่านิยมของตนเองสอดคล้องกับค่านิยมขององค์กรได้ โดยประโยชน์ของ Culture Fit จะมีดังต่อไปนี้

  1. อัตราการรักษาพนักงานหรือ Employee Retention เพิ่มสูงขึ้น
    เมื่อพนักงานรู้สึกว่าตนเองเหมาะและเข้ากันได้ดีกับวัฒนธรรมองค์กร พวกเขามักจะมี Well-being ที่ดีและอยู่ต่อกับองค์กรในระยะเวลาที่นานขึ้น นำไปสู่อัตราการลาออกที่ลดลงและต้นทุนการสรรหาบุคคลและการฝึกอบรมพนักงานใหม่ที่ลดลงด้วย
  2. ผลิตผล (Productivity) เพิ่มมากขึ้น
    พนักงานที่รู้สึกว่าตนเองเหมาะและเข้ากันได้ดีกับวัฒนธรรมองค์กรมักจะรู้สึกผูกพันต่อองค์กรและมีแรงจูงใจในการทำงาน ซึ่งนำไปสู่ Productivity ที่สูงขึ้นและประสิทธิภาพในทางธุรกิจที่ดียิ่งขึ้น
  3. วัฒนธรรมองค์กรแข็งแรงขึ้น
    การทำให้แน่ใจได้ว่าพนักงานสามารถเข้ากันได้ดีกับวัฒนธรรมองค์กรสามารถช่วยทำให้วัฒนธรรมองค์กรแข็งแกร่งยิ่งขึ้นและรักษาวัฒนธรรมที่ดีไว้ได้อย่างยั่งยืน ซึ่งนำไปสู่สภาพแวดล้อมการทำงานเชิงบวกและขวัญกำลังใจของพนักงานที่ดีขึ้น
  4. การตัดสินใจที่ดีขึ้น
    การว่าจ้างพนักงานใหม่ที่เข้ากันได้ดีกับวัฒนธรรมองค์กรสามารถนำไปสู่การตัดสินใจและการแก้ไขปัญหาที่ดีขึ้น เนื่องจากพนักงานจะมีความเข้าใจและมีแนวคิดไปในทิศทางเดียวกันมากขึ้นกับค่านิยมและเป้าหมายขององค์กร

ในทางกลับกัน ถ้าพนักงานไม่สามารถเข้ากันได้ดีกับวัฒนธรรมองค์กรจะนำไปสู่ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ความขัดแย้ง และการขาดความร่วมมือระหว่างพนักงาน นอกจากนี้ยังส่งผลต่อความพึงพอใจในงานที่ลดลง และการลาออกที่สูงขึ้น เพราะคนที่มีค่านิยมและความเชื่อไม่ตรงกันกับองค์กร อาจจะเป็นการยากที่พวกเขาจะรู้สึกเติมเต็มและมีคุณค่าในบทบาทหน้าที่ของตนเอง ดังนั้นจึงสำคัญมากต่อองค์กรที่จะทำให้มั่นใจได้ว่าพนักงานมี Culture Fit กับองค์กรเพื่อที่จะสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีและส่งเสริมความสำเร็จภายในองค์กร

แผนกทรัพยากรบุคคลหรือ HR เป็นผู้ดูแลเรื่องการมี Culture Fit องค์กรใช่หรือไม่

แผนกทรัพยากรบุคคลหรือ HR มักมีบทบาทในการทำให้มี Culture Fit ภายในองค์กร เพราะ HR มีหน้าที่หลักในการสรรหา จ้างงาน และ Onboarding รับพนักงานใหม่ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อทั้งวัฒนธรรมองค์กรโดยรวมและพนักงาน โดยทั่วไปแผนก HR ทำหน้าที่ในการทำให้แน่ใจถึงการมี Culture Fit ในระหว่างกระบวนการจ้างงานด้วยการพัฒนาและประยุกต์ใช้เครื่องมือในการประเมิน Culture Fit เช่น การสัมภาษณ์งาน แบบสอบถาม หรือแบบประเมินผล เพื่อประเมินดูว่าค่านิยม ความเชื่อ และพฤติกรรมของผู้สมัครมีความสอดคล้องกับวัฒนธรรมองค์กรหรือไม่ HR เป็นตัวแทนที่สามารถส่งเสริมและรักษาค่านิยม ความเชื่อ และวัฒนธรรมขององค์กร และทำให้แน่ใจได้ว่าพนักงานเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับเป้าหมายและวัตถุประสงค์ขององค์กร ด้วยการใช้กลยุทธ์การรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กรและการคัดสรรบุคคลที่มีประสิทธิภาพและใช้เครื่องมือในการประเมินวัฒนธรรมที่เหมาะสม

อย่างไรก็ตาม การทำให้แน่ใจถึงการมี Culture Fit ในองค์กรไม่ได้เป็นเพียงความรับผิดชอบของแผนก HR เท่านั้น แต่เป็นเรื่องที่ทุกคนในองค์กรต้องรับผิดชอบร่วมกัน ตั้งแต่ผู้นำระดับอาวุโสจนไปถึงระดับพนักงาน การแน่ใจได้ว่ามี Culture Fit นั้นต้องใช้ความพยายามที่ต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ เพื่อสื่อสารค่านิยมและความคาดหวังขององค์กร เพื่อสร้างโอกาสสำหรับพนักงานให้รู้จักกันมากขึ้น และเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีและที่คอยส่งเสริมซึ่งกันและกัน

Culture Fit Assessment Test หรือแบบทดสอบประเมิน Culture Fit คืออะไร

แบบทดสอบประเมิน Culture Fit คือเครื่องมือหนึ่งที่ถูกใช้ในองค์กรเพื่อพิจารณาว่าผู้สมัครมี Culture Fit อย่างมากกับองค์กรหรือไม่ โดยทั่วไปแบบทดสอบนี้ใช้การรวมกันของคำถาม กิจกรรม และแบบประเมินเพื่อประเมินดูค่านิยม ความเชื่อ และพฤติกรรมของแต่ละคน และเปรียบเทียบสิ่งเหล่านี้กับค่านิยมและวัฒนธรรมขององค์กร

แบบทดสอบประเมิน Culture Fit มีได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับความต้องการและเป้าหมายขององค์กร บางแบบทดสอบอาจจะมุ่งเน้นไปที่เรื่องที่เฉพาะเจาะจงของวัฒนธรรมองค์กร เช่น เรื่องค่านิยมองค์กร

ประเภทของแบบทดสอบประเมิน Culture Fit ทั่วไป ได้แก่

  1. แบบทดสอบบุคลิกภาพ (Personality Tests): แบบทดสอบเหล่านี้ถูกออกแบบมาเพื่อประเมินลักษณะบุคลิกภาพของแต่ละคน เช่น ระดับของการชอบเข้าสังคม (Extroversion) ความเป็นมิตร หรือการเปิดใจรับสิ่งใหม่ ๆ ด้วยการเปรียบเทียบลักษณะบุคลิกของแต่ละคนกับลักษณะบุคลิกของพนักงานในองค์กร แบบทดสอบนี้ช่วยพิจารณาว่าพวกเขาเหมาะสมและพร้อมเติบโตกับองค์กรได้ดีหรือไม่
  2. การประเมินลักษณะบุคคลด้วยค่านิยม (Values-based assessments):  การประเมินเหล่านี้ถูกออกแบบมาเพื่อประเมินค่านิยมและความเชื่อของแต่ละบุคคล และเปรียบเทียบสิ่งเหล่านี้กับวัฒนธรรมและค่านิยมขององค์กร การประเมินนี้อาจรวมคำถามเกี่ยวกับการจัดลำดับความสำคัญ ความเชื่อ และเป้าหมายของแต่ละคน และอาจใช้ประเมินความเหมาะสมกับองค์กรโดยรวมอีกด้วย
  3. สถานการณ์ในที่ทำงานหรือพฤติกรรมที่ยอมรับได้ (Workplace scenarios or Acceptable behavior): แบบทดสอบนี้ถูกออกแบบมาเพื่อประเมินพฤติกรรมของแต่ละคนและทักษะในการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ ในที่ทำงาน  โดยการนำเสนอสถานการณ์สมมุติต่อผู้สมัครและถามพวกเขาว่าจะทำอย่างไรในสถานการณ์ดังกล่าว แบบทดสอบนี้ช่วยประเมินความเหมาะสมของผู้สมัครกับวัฒนธรรมและค่านิยมขององค์กร

โดยรวมแล้วแบบทดสอบประเมิน Culture Fit เป็นเครื่องมือสำคัญที่องค์กรสามารถใช้เพื่อพิจารณาว่าผู้สมัครมีความเหมาะสมสำหรับองค์กรหรือไม่ ด้วยการใช้แบบทดสอบเหล่านี้ องค์กรสามารถแน่ใจได้ว่าพวกเขากำลังจ้างงานผู้ที่แชร์ค่านิยมและความเชื่อเดียวกันกับองค์กร และสามารถปรับพฤติกรรมให้ไปในทิศทางเดียวกันกับเป้าหมายและวัตถุประสงค์ขององค์กร

🛠️
ศึกษาเครื่องมือที่ใช้ในขบวนการสรรหาบุคคลเพิ่มเติมได้ที่ Happily Hiring Best Practices และเครื่องมือในการสร้างและส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรได้ที่ Culture Toolkit

คำถามสำหรับการประเมิน Culture Fit มีอะไรบ้าง

คำถามสำหรับการประเมิน Culture Fit เป็นคำถามที่ใช้สำหรับพิจารณาว่าผู้สมัครงานเข้ามาในองค์กรมีค่านิยม ความเชื่อ และพฤติกรรมไปในทิศทางเดียวกันกับวัฒนธรรมองค์กรหรือไม่ คำถามเหล่านี้ถูกใช้บ่อยครั้งในขั้นตอนการจ้างงานเพื่อทำให้มั่นใจได้ว่าผู้สมัครจะสามารถเข้ากันได้ดีกับวัฒนธรรมของบริษัทและสามารถเติบโตได้ในองค์กรต่อไป

นี่คือตัวอย่างของคำถามสำหรับการประเมิน Culture Fit:

  1. คุณให้นิยามคำว่า วัฒนธรรมองค์กรที่ดี ว่าอย่างไร
  2. อธิบายเวลาที่คุณต้องปรับตัวต่อวัฒนธรรมองค์กรใหม่
  3. คุณจัดการกับความขัดแย้งหรือความแตกต่างด้านค่านิยมกับเพื่อนร่วมงานของคุณอย่างไร
  4. อะไรคือค่านิยมของคุณและค่านิยมเหล่านี้สอดคล้องกับค่านิยมขององค์กรเราอย่างไร
  5. คุณมีส่วนช่วยสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีอย่างไร
  6. คุณมีวิธีการแก้ไขปัญหาในการจัดตั้งทีมอย่างไร
  7. คุณจัดการกับฟีดแบ็กทั้งเชิงบวกและเชิงลบอย่างไร
  8. คุณจัดลำดับความสำคัญของงานและจัดการเวลาอย่างมีประสิทธิภาพอย่างไร
  9. คุณจัดการกับความขัดแย้งหรือการไม่เห็นด้วยกับเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้างานอย่างไร
  10. คุณจัดลำดับความสำคัญเรื่องความสมดุลระหว่างการทำงานกับชีวิตส่วนตัวอย่างไร
  11. คุณสร้างและรักษาความสัมพันธ์ในที่ทำงานกับเพื่อนร่วมงานคุณอย่างไร
  12. อธิบายเวลาที่คุณต้องปรับตัวกับบทบาทหรือหน้าที่ใหม่หรือต้องรับผิดชอบงานเพิ่มมากขึ้น
  13. คุณจัดการกับความเครียดหรือความกดดันในที่ทำงานอย่างไร
  14. คุณจัดการกับความท้าทายหรืออุปสรรคที่คาดไม่ถึงในงานของคุณอย่างไร
  15. อธิบายเวลาที่คุณต้องสื่อสารเรื่องที่ซับซ้อนหรือข้อมูลทางเทคนิคให้ผู้ฟังที่ไม่มีพื้นฐานทางเทคนิคเลย
  16. คุณมีวิธีทำงานร่วมกับทีมที่ทำงานข้ามสายงานกับคุณอย่างไร
  17. คุณมีส่วนร่วมในวัฒนธรรมทีมที่ดีอย่างไร
  18. คุณจัดการกับบทสนทนายาก ๆ หรือการเผชิญหน้ากับเพื่อนร่วมงานอย่างไร
  19. คุณมีวิธีให้และรับฟีดแบ็กอย่างไร
  20. คุณนิยามความร่วมมือและการทำงานเป็นทีมในที่ทำงานอย่างไร

มีเพียงสองสามตัวอย่างของประเภทคำถามที่อาจจะถูกถามและเป็นส่วนหนึ่งในการประเมิน Culture Fit

บทสรุป

โดยสรุป Culture Fit เป็นสิ่งที่ควรพิจารณาเป็นอย่างยิ่งสำหรับองค์กรทุกขนาดและทุกอุตสาหรรม การทำให้แน่ใจได้ว่าพนักงานมีความเหมาะสมสำหรับวัฒนธรรมองค์กรนี้สามารถนำไปสู่การรักษาพนักงานให้คงอยู่กับบริษัทให้นานขึ้น ผลิตผลที่เพิ่มสูงขึ้น วัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่งขึ้น และการตัดสินใจที่ดียิ่งขึ้น โดยทั่วไปแล้วแผนก HR มักมีหน้าที่รับผิดชอบในการทำให้แน่ใจว่าผู้สมัครมี Culture fit กับองค์กรในระหว่างขั้นตอนการจ้างงาน แต่ทุกคนในองค์กรมีหน้าที่ร่วมกันในเรื่อง Culture fit เพื่อให้แน่ใจว่ามี Culture fit องค์กรต้องประเมินและสื่อสารค่านิยมเป็นประจำ สร้างโอกาสให้พนักงานรู้จักกันในองค์กร และสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดีและส่งเสริมซึ่งกันและกัน โดยการให้ความสำคัญกับ Culture fit นั้น องค์กรสามารถสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดีที่ช่วยดึงดูดและรักษาพนักงานคนเก่งขององค์กรและส่งเสริมความสำเร็จขององค์กรในระยะยาวได้อีกด้วย


ทดลองเครื่องมืออย่าง MyCulture เพื่อประเมิน Culture fit ภายในองค์กรของคุณ!

รายงานการประเมินวัฒนธรรม (Culture Assessment) จาก MyCulture
รายงานการประเมินวัฒนธรรม (Culture Assessment) จาก MyCulture

Subscribe to Smiles at Work | The Official Happily.ai Blog newsletter and stay updated.

Don't miss anything. Get all the latest posts delivered straight to your inbox. It's free!
Great! Check your inbox and click the link to confirm your subscription.
Error! Please enter a valid email address!