จากรายงาน "State of the Global Workplace" ของ Gallup ปี 2022 กล่าวว่า จากพนักงานทั้งหมดที่เข้าร่วมการสำรวจ มีพนักงานเพียง 21% เท่านั้นที่มีสถานที่ทำงานที่ทำให้พวกเขารู้สึกมีส่วนร่วมกับองค์กร ซึ่งเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างต่ำ และเป็นที่ทราบกันดีว่าระดับความผูกพันหรือมีส่วนร่วมต่อองค์กรของพนักงานหรือ Employee Engagement เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญในความสำเร็จขององค์กร เพราะสิ่งนี้ส่งผลกระทบต่อ Well-being หรือสุขภาวะของพนักงาน, ประสิทธิผลของงาน, ความพึงพอใจในงาน และประสิทธิภาพโดยรวมทั้งหมดขององค์กร อย่างไรก็ตาม หากองค์กรไม่ได้มีความเข้าใจถึงตัวขับเคลื่อนความผูกพันต่อองค์กรที่เหมาะสมแล้ว ผู้นำองค์กรอาจประสบปัญหาในการสร้างกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาระดับ Employee Engagement ให้ดีขึ้นได้  ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องดำเนินการสำรวจ Employee Engagement ในองค์กรเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกเพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิดของพนักงานที่มีต่องาน ต่อองค์กร และต่อสภาพแวดล้อมการทำงานของพวกเขา โดยแบบสำรวจหรือแบบสอบถามนี้จะให้ข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อผู้นำองค์กร และทำให้ผู้นำสามารถบอกได้ถึงจุดที่ต้องการปรับปรุง สามารถพัฒนาแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย และเพิ่ม Employee Engagement ที่นำไปสู่การเพิ่ม Well-being ของพนักงาน, ประสิทธิผลการทำงาน, การรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กร และความสำเร็จขององค์กรโดยรวม

ในบทความนี้ เรานำเสนอเนื้อหาดังต่อไปนี้

  • แบบสอบถาม Employee Engagement คืออะไร?
  • องค์กรควรดำเนินการสำรวจ Employee Engagement บ่อยแค่ไหน?
  • ผู้นำและผู้จัดการดำเนินการสำรวจ Employee Engagement ได้อย่างไร?
  • ผู้นำและผู้จัดการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม Employee Engagement ได้อย่างไร
  • ตัวอย่างวิธีการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม Employee Engagement

แบบสอบถาม Employee Engagement คืออะไร?

แบบสอบถาม Employee Engagement เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในองค์กรเพื่อวัดระดับความพึงพอใจ แรงจูงใจ และความมุ่งมั่นของพนักงานที่มีต่องานและองค์กร แบบสอบถามนี้จะรวบรวมข้อมูลผ่านชุดคำถามมาตรฐานที่ช่วยระบุตัวขับเคลื่อน Engagement และจุดที่ต้องปรับปรุง

Employee Engagement Survey in Thai

องค์กรควรดำเนินการสำรวจ Employee Engagement บ่อยแค่ไหน?

ความถี่ของการดำเนินการสำรวจ Employee Engagement ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ขนาดขององค์กร ประเภทอุตสาหกรรม และระดับการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร โดยทั่วไปแล้วองค์กรดำเนินการสำรวจ Employee Engagement ปีละหนึ่งครั้ง แต่ในบางบริษัทเลือกที่จะดำเนินการถี่กว่านี้ เช่น ดำเนินการทุกหกเดือนหรือทุกไตรมาส อย่างไรก็ตาม การดำเนินการสำรวจ Employee Engagement บ่อย ๆ สามารถช่วยให้องค์กรสามารถติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินการด้านต่าง ๆ ระบุถึงการเปลี่ยนระดับ Employee Engagement และปรับแผนการดำเนินงานแบบเรียลไทม์หรือดำเนินการได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

ผู้นำและผู้จัดการดำเนินการสำรวจ Employee Engagement ได้อย่างไร?

ดำเนินการสำรวจ Employee Engagement มีหลายขั้นตอน ดังนี้

  • กำหนดจุดประสงค์ของการสำรวจ: ระบุสิ่งที่ต้องการสำรวจอย่างเฉพาะเจาะจง เช่น ความพึงพอใจของพนักงาน แรงจูงใจ และการมีส่วนร่วมต่องานและองค์กร
  • เลือกเครื่องมือที่เหมาะสม: เลือกเครื่องมือในการสำรวจที่ได้รับการรับรอง เชื่อถือได้ และตรงต่อความต้องการใช้งานขององค์กร และทำให้แน่ใจได้ว่าเครื่องมือในการสำรวจนี้ง่ายต่อการใช้งาน การเข้าถึง สำหรับพนักงานทุกคนและสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกได้
  • ทำให้แน่ใจว่าเป็นความลับและปกปิดตัวตนของผู้ทำแบบสอบถาม: สื่อสารกับพนักงานว่าการตอบคำถามของพวกเขาจะเป็นความลับและไม่เปิดเผยตัวตน สิ่งนี้ทำให้พนักงานตอบความจริงและให้ฟีดแบ็กที่เปิดกว้าง นำไปสู่ข้อมูลที่มีความถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น
  • กำหนดเวลาในการตอบแบบสอบถาม: กำหนดเวลาในการตอบแบบสอบถามที่ให้พนักงานมีเวลาเพียงพอในการตอบแบบสอบถามให้เสร็จและให้เวลาองค์กรในการวิเคราะห์ข้อมูล
  • สื่อสารกับพนักงาน: โดยสามารถทำผ่านขั้นตอนตั้งแต่เริ่มแนะนำการทำแบบสำรวจจนถึงการติดตามผล สิ่งนี้จะช่วยส่งเสริมการเข้าร่วมการสำรวจและพัฒนาคุณภาพของการตอบแบบสอบถาม
  • วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถาม: เมื่อพนักงานทำแบบสอบถามเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต่อไปก็คือการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาเพื่อระบุถึงจุดที่ต้องปรับปรุง การวิเคราะห์นี้รวมไปถึงการแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วน ๆ สามารถแบ่งได้จาก แผนกงาน อายุ เพศ และข้อมูลทางสถิติประชากรอื่น ๆ ที่บอกถึงข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับระดับ Engagement ของพนักงานทั่วทั้งองค์กร
  • พัฒนาแผนการดำเนินการ: แผนการดำเนินการที่นำมาจากผลของแบบสำรวจเพื่อที่จะแก้ไขจุดที่ต้องปรับปรุง ซี่งรวมไปถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมายเช่น การฝึกอบรมและการพัฒนา การสื่อสารที่ดีขึ้น การชื่นชมยอมรับและการให้รางวัล หรือการเปลี่ยนแปลงนโยบายในที่ทำงาน
  • เฝ้าติดตามความก้าวหน้า: ติดตามความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลงระดับ Engagment อยู่เสมอเพื่อประเมินประสิทธิภาพของการปรับเปลี่ยน และเพื่อปรับแผนการดำเนินการให้เหมาะสม

ด้วยการดำเนินการตามขั้นตอนที่ได้กล่าวมานี้ ผู้นำและผู้จัดการสามารถดำเนินการและวิเคราะห์แบบสำรวจ Employee Engagement เพื่อได้รับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิดของพนักงานและทัศนคติของพวกเขาที่มีต่องานและองค์กร สิ่งนี้สามารถช่วยพัฒนา Employee Engagement ให้ดียิ่งขึ้น และนำไปสู่ Well-being ของพนักงานที่ดีขึ้น Productivity ที่เพิ่มขึ้น การรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กรนานขึ้น และความสำเร็จขององค์กรในภาพรวม

ทำให้การสำรวจ Employee Engagement เป็นเรื่องง่าย

พลิกโฉมกลยุทธ์ Employee Engagement ของคุณ และขับเคลื่อนความสำเร็จทางธุรกิจ ด้วยข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์และนำไปใช้ได้จริง

มาดูวิธีการใช้งานกัน!

ผู้นำและผู้จัดการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม Employee Engagement ได้อย่างไร

การเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม Employee Engagement เป็นสิ่งสำคัญในการทำความเข้าใจความต้องการและความกังวลของพนักงานและสำคัญต่อการพัฒนาสภาพแวดล้อมการทำงานให้ดีขึ้น ผู้นำองค์กรและผู้จัดการสามารถเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลแบบสำรวจ Employee Engagement ด้วยการดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. ออกแบบแบบสอบถาม: ขั้นตอนแรกคือการออกแบบแบบสอบถามที่รวมชุดคำถามที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายและจุดประสงค์ขององค์กร แบบสอบถามนี้ควรครอบคลุมหลาย ๆ มุมมองของสภาพแวดล้อมการทำงาน รวมไปถึง ความพึงพอใจในงาน วัฒนธรรมองค์กร สภาวะผู้นำ และการสื่อสาร
  2. แจกจ่ายแบบสอบถาม: เมื่อออกแบบแบบสอบถามเรียบร้อยแล้ว แบบสอบถามจะถูกส่งไปยังพนักงานทุกคน โดยการแจกจ่ายแบบสอบถามสามารถทำได้หลายช่องทาง เช่น ผ่านเครื่องมือออนไลน์ ผ่านซอฟแวร์ ผ่านการส่งอีเมล หรือทำผ่านแบบสอบถามในรูปแบบกระดาษ
  3. รวบรวมข้อมูล: หลังจากที่แจกจ่ายแบบสอบถามแล้ว ข้อมูลการตอบแบบสอบถามควรเก็บรวบรวมไว้ที่เก็บส่วนกลาง โดยสามารถเก็บข้อมูลไว้บนแผ่นงาน Excel หรือเครื่องมือแบบสอบถามออนไล์ที่มีการเก็บรวมรวมข้อมูลไว้ให้ เช่น Google Form
  4. วิเคราะห์ข้อมูล: ขั้นตอนต่อไปคือการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อบ่งชี้ถึงแนวโน้มและรูปแบบ โดยการแบ่งข้อมูลเป็นส่วนตามข้อมูลสถิติประชากร (เช่น เพศ อายุ อายุงาน แผนก และอื่น ๆ ) แล้วเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้ (ปัจจุบัน) กับข้อมูลเก่าที่ได้จากแบบสอบถามก่อนหน้านี้ และจัดลำดับความสำคัญในการแก้ปัญหาสิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไข ในขั้นตอนนี้สามารถนำเสนอข้อมูล เทรนด์ และรูปแบบที่ได้ด้วยการสร้างแผนภูมิและกราฟ และดำเนินการวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อหาความสอดคล้องและความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลที่ได้จากคำถามที่แตกต่างกัน
  5. แชร์ผลการวิเคราะห์ข้อมูล: หลังจากที่วิเคราะห์ข้อมูลไปแล้ว ผลที่ได้ควรนำไปแชร์กับผู้นำองค์กรและผู้จัดการ โดยสามารถทำผ่านการนำเสนองานหรือรายงานที่ไฮไลท์ข้อค้นพบหลักและข้อแนะนำสำหรับการปรับปรุงพัฒนาจุดที่มีปัญหา
  6. ดำเนินการตามผลที่ได้: ขั้นตอนสุดท้าย ผู้นำองค์กรและผู้จัดการควรดำเนินการตามผลของแบบสอบถาม โดยจะเกี่ยวข้องกับการปรับใช้นโยบายใหม่หรือริเริ่มโครงการใหม่เพื่อพัฒนา Employee Engagement หรือเพื่อปรับปรุงปัญหาที่ค้นพบจากข้อมูลในแบบสอบถาม

ตัวอย่างวิธีการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม Employee Engagement

นี่คือตัวอย่างของการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม Employee Engagement ในเรื่อง Well-being ของบริษัทหนึ่ง

  1. ออกแบบแบบสอบถาม
    บริษัทออกแบบแบบสอบถามที่ถามคำถามที่เกี่ยวกับ Well-being ของพนักงาน เช่น
    คุณรู้สึกเครียดกับงานหรือมีงานมากเกินจนรู้สึกไม่ไหว?
    จาก 0 ถึง 10 คุณให้คะแนนตัวเองในการแบ่งความสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัวของคุณเท่าใด? (จากแย่ไปดีมาก)
    คุณรู้สึกว่ากำลังตกอยู่ภายใต้แรงกดดันที่ไม่ค่อยจะโอเค?
    ช่วงนี้มีเรื่องอะไรที่ทำให้คุณนอนไม่หลับบ้างไหม?
    คุณพักเบรคระหว่างวันทำงานบ่อยแค่ไหน?
  2. แจกจ่ายแบบสอบถาม
    แบบสอบถามถูกส่งไปให้กับพนักงานทุกคนผ่านเครื่องมือแบบสำรวจออนไลน์
  3. เก็บรวบรวมข้อมูล
    คำตอบจากแบบสอบถามถูกรวบรวมด้วยการใช้เครื่องมือแบบสำรวจออนไลน์ไปไว้ที่ส่วนกลาง
  4. วิเคราะห์ข้อมูล
    ข้อมูลจากการสำรวจถูกวิเคราะห์ด้วยการสร้างแผนภูมิและกราฟที่นำเสนอข้อมูลให้มองเห็นได้อย่างง่าย ตัวอย่างเช่น บริษัทสามารถสร้างแผนภูมิแสดงจำนวนเปอร์เซ็นต์ของพนักงานที่รู้สึกเครียดเรื่องงาน และข้อมูลยังสามารถวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อระบุถึงความสอดคล้องและความสัมพันธ์ระหว่างคำถามต่าง ๆ ในแบบสอบถามอีกด้วย ตัวอย่างเช่น บริษัทสามารถมองเห็นว่ามีความสัมพันธ์ระหว่าง Work-life Balance กับความพึงพอใจในงาน หรือไม่
  5. แชร์ผลการวิเคราะห์
    ผลจากแบบสอบถามถูกแชร์ให้กับผู้นำองค์กรและผู้จัดการผ่านรายงานที่ไฮไลท์ข้อค้นพบที่สำคัญและคำแนะนำสำหรับการพัฒนาปรับปรุง ตัวอย่างเช่น รายงานอาจแนะนำให้บริษัทเสนอการปรับการทำงานให้ยืดหยุ่นมากขึ้นเพื่อพัฒนาเรื่อง Work-life Balance หรืออาจแนะนำผู้จัดการให้จัดประชุม 1:1 กับลูกทีมเพื่อปรับปรุงเรื่องการจัดลำดับความสำคัญของงานเพื่อช่วยเรื่องความเครียดในการจัดการงาน
    ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากคู่มือและเทมเพลตการประชุม 1:1 ของเรา
  6. ดำเนินการตามผลการสำรวจ
    บริษัทดำเนินการตามผลที่ได้จากการสำรวจ ตัวอย่างเช่น บริษัทอาจใช้นโยบายการทำงานแบบยืดหยุ่น หรือเสนอสวัสดิการด้านการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจแก่พนักงาน หรือผู้จัดการจัดการประชุม 1:1 พูดคุยกับลูกทีมเพื่อช่วยเหลือด้านความเครียดที่เกิดจากการทำงาน

แบบสอบถาม Employee Engagement มุ่งเน้นเรื่อง Well-being ของพนักงานที่ให้ข้อมูลเชิงลึกที่เป็นประโยชน์ ที่ทำให้องค์กรสามารถดำเนินการเพื่อพัฒนาและปรับปรุง Well-being ความพึงพอใจ และการมีส่วนร่วมของพนักงานในองค์กร

ทำให้ข้อมูลแบบสำรวจ Employee Engagement ใช้งานได้จริง

ข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์และใช้งานได้ง่ายที่ทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม Employee Engagement นำไปใช้งานได้จริงในทุกองค์กร

มาดูวิธีการใช้งานกัน!

บทสรุป

Employee Engagement สำคัญต่อความสำเร็จของทุกองค์กร และการดำเนินการสำรวจ Employee Engagement ทำให้องค์กรเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของพนักงาน ด้วยขั้นตอนการดำเนินการสำรวจ Employee Engagement ความถี่ของการสำรวจ และวิธีเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่กล่าวมาในบทความนี้จะช่วยให้ผู้นำองค์กรสามารถตัดสินใจเพื่อพัฒนาระดับ Employee Engagement ของพนักงานและขับเคลื่อนความสำเร็จขององค์กรในภาพรวมได้

โปรดระลึกไว้เสมอว่าการดำเนินการสำรวจ Employee Engagement อย่างง่ายนี้ยังไม่เพียงพอต่อการพัฒนาระดับ Employee Engagement แต่องค์กรยังต้องดำเนินการตาม Feedback ที่ได้รับมา แล้วสื่อสารกับพนักงานเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตาม Feedback นี้ และเฝ้าติดตามความก้าวหน้าเป็นระยะ ๆ เพื่อทำให้แน่ใจได้ว่าระดับ Employee Engagement ในองค์กรนี้ดีขึ้น อย่ารอนานไปกว่านี้ เริ่มดำเนินการตั้งแต่ขั้นตอนแรกด้วยการทำให้พนักงานรู้สึกมีส่วนร่วมและมีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้นด้วยการดำเนินการสำรวจ Employee Engagement กันเลยตั้งแต่วันนี้!

Share this post