แผนปฏิบัติการในการดูแล Well-being สมาชิกในทีมสำหรับผู้จัดการ

สุขภาวะหรือ Well-being ของพนักงานช่วยสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานเชิงบวก ช่วยทำให้ระดับความเครียดโดยรวมน้อยลง และเพิ่มความผูกพันต่อองค์กรและความพึงพอใจของพนักงาน ในขณะเดียวกัน สิ่งที่ทำให้เกิดความเครียดในงานและสุขภาพจิตใจที่ไม่ดีในที่ทำงานก็ส่งผลอย่างร้ายแรงเช่นกัน
แผนปฏิบัติการในการดูแล Well-being สมาชิกในทีมสำหรับผู้จัดการ
Photo by Glenn Carstens-Peters / Unsplash

พนักงานที่มีความสุขและมีสุขภาพที่ดีคือหัวใจสำคัญของธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ สุขภาวะหรือ Well-being ของพนักงานช่วยสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานเชิงบวก ช่วยทำให้ระดับความเครียดโดยรวมน้อยลงและเพิ่มความผูกพันต่อองค์กรและความพึงพอใจของพนักงาน ในขณะเดียวกัน สิ่งที่ทำให้เกิดความเครียดในงานและสุขภาพจิตใจที่ไม่ดีในที่ทำงานก็ส่งผลอย่างร้ายแรงเช่นกัน

บทบาทของผู้จัดการในการสนับสนุน Well-being ของสมาชิกในทีม

ผู้จัดการมีบทบาทที่สำคัญอย่างมากในการสร้างสมดุลเรื่อง Well-being ของทีมและในการทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมาย สิ่งนี้อาจทำให้ผู้จัดการรู้สึกไม่สบายใจและรู้สึกท่วมท้นในการส่งเสริม Well-being ของสมาชิกในทีม และปัญหาที่พบบ่อยที่สุดก็คือการหาวิธีการแก้ไขปัญหาที่สามารถนำมาปฏิบัติได้จริงในทีม

ข้อมูลจาก Gallup พบกว่าบทบาทของผู้จัดการคือช่วยสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ทำให้พนักงานมีอำนาจในการตัดสินใจและจัดการกับ Well-being ของพวกเขาเองได้ ซึ่งมี 4 ขั้นตอนที่ช่วยส่งเสริม Well-being ของคนในทีม ดังนี้

  1. ชักชวน: ส่งเสริมความสำคัญของรูปแบบการใช้ชีวิตที่ส่งเสริมสุขภาพที่ดีและช่วยพนักงานจัดลำดับความสำคัญในเรื่อง Well-being ของพวกเขา
  2. จัดเตรียม: จัดให้มีสภาพแวดล้อมที่อบอุ่น เป็นที่ยอมรับ และปลอดภัยที่กระตุ้นให้พนักงานมีส่วนร่วมในการลงมือทำเรื่อง Well-being
  3. เป็นแบบอย่าง: ผู้จัดการควรแบ่งปันวิธีการปฏิบัติเรื่อง Well-being ให้สมาชิกในทีม โดยการยกตัวอย่างวิธีการปฏิบัติตนอย่างไรให้มี Well-being ที่ดี
  4. ห่วงใย: ผู้จัดการควรแสดงความห่วงใยที่แท้จริงเรื่อง Well-being ของสมาชิกในทีมด้วยการส่งเสริมพนักงานให้ตั้งเป้าหมายและติดตามผลความคืบหน้า Well-being ของตนเอง

ผลกระทบของโรคระบาดที่มีต่อ Well-being ของพนักงาน

การระบาดใหญ่ส่งผลกระทบอย่างมากต่อสถานที่ทำงานและทำลาย Well-being ของพนักงาน รายงานเรื่อง Well-being พบว่าพนักงาน 45% มีปัญหาสุขภาพจิตแย่ลงและ 42% มีการเชื่อมต่อทางสังคมในที่ทำงานลดลงในระหว่างช่วงล็อกดาวน์ โดยความเครียดที่พบบ่อยที่สุดคือปริมาณงาน ตามมาด้วยรูปแบบการจัดการและความไม่สมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานเมื่อทำงานจากที่บ้าน (WFH) พนักงาน 1 ใน 4 คนรายงานว่ารู้สึกเครียดเนื่องมาจากปัจจัยที่ไม่เกี่ยวข้องกับงาน (เช่นเรื่องความสัมพันธ์และเรื่องครอบครัว) ผู้จัดการต้องจัดการและช่วยเหลือทีมของพวกเขาในการจัดการกับสิ่งที่ทำให้เกิดความเครียดที่หลากหลายและช่วยพัฒนา Well-being ของสมาชิกในทีม ในขณะที่ยังคงต้องทำงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

และด้วยเหตุนี้เองทำให้ผู้จัดการมีความเปราะบางที่สุดที่จะมี Well-being ต่ำ

สาเหตุทั่วไปของ Well-being ของพนักงานที่มีระดับต่ำและวิธีแก้ไขสำหรับผู้จัดการ

เป็นเรื่องที่มีประโยชน์ต่อผู้จัดการที่จะเข้าใจว่า Well-being ที่ไม่ดีนั้นอาจเกิดจากปัจจัยที่เกี่ยวกับงานและที่ไม่เกี่ยวข้องกับงาน ผู้จัดการควรรับผิดชอบ ดูแล และแก้ไขความเครียดที่เกิดจากงาน ในขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้พนักงานในทีมได้จัดการความเครียดที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานด้วย ซึ่งการพยายามโน้มน้าวสมาชิกในทีมที่มี Well-being ต่ำและกดดันเรื่องประสิทธิภาพการทำงานจากพวกเขามันไม่ได้มีประโยชน์อะไรเลย

และต่อไปนี้คือปัจจัยสนับสนุนทั่วไปที่ทำให้พนักงานมี Well-being ต่ำ และสิ่งที่คุณในฐานะผู้จัดการสามารถช่วยให้สมาชิกในทีมของคุณผ่านพ้นไปได้

ปัจจัยที่เป็นสาเหตุ

คำอธิบาย

สิ่งที่คุณสามารถทำได้

ความโดดเดี่ยว

ความโดดเดี่ยวเกิดขึ้นเมื่อพนักงานรู้สึกถึงการขาดหายไปของการเชื่อมต่อและขาดความสัมพันธ์ทางสังคม พนักงานที่โดดเดี่ยวมีแนวโน้มที่จะแยกตัวออกห่างจากเพื่อนร่วมงาน หยุดสื่อสารและปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน และไม่เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม ความรู้สึกโดดเดี่ยวและแยกตัวออกไปนำไปสู่ความสับสน ไม่มั่นใจในตนเอง และความรู้สึกไม่ปลอดภัย ความผูกพันกับองค์กรลดน้อยลง แรงจูงใจในการทำงานก็ลดน้อยลง และสามารถนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้

🎯จัดกิจกรรมการสร้างทีมหรือรับประทานอาหารกลางวันร่วมกันในทีม

🎯แสดงความสนใจและใส่ในใจเรื่องที่นอกเหนือชีวิตการทำงานของสมาชิกในทีม

🎯จัดการประชุม One-on-one เพื่อแชร์ความรู้สึกนึกคิดของสมาชิกในทีม

ความเครียด

ความเครียดก่อให้เกิดอาการทางความคิด อารมณ์ และร่างกายที่ส่งผลต่อ Well-being ของพนักงาน ความเครียดที่มีระดับสูงลดความสามารถในการโฟกัสและการตัดสินใจของพนักงาน นอกจากนี้ยังนำไปสู่ความไม่สบายทางร่างกาย เช่น ปวดศรีษะ ปัญหาระบบทางเดินอาหาร ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ และความดันโลหิตสูง ปริมาณงานที่เพิ่มมากขึ้นและความสัมพันธ์ในที่ทำงานที่ไม่แข็งแรงเป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ของความเครียดที่เกิดจากการทำงาน

🎯ทบทวนปริมาณงานและกระจายงานอย่างเหมาะสม

🎯ลดจำนวนการประชุมหรือ video call ที่ไม่จำเป็นลง

🎯พิจารณาการจัดการการทำงานที่ยืดหยุ่น

ความเหนื่อยล้า

ความเหนื่อยล้าเกิดขึ้นเมื่อพนักงานรู้สึกเหน็ดเหนื่อยและหมดแรงเนื่องมาจากความเครียดที่สะสมต่อเนื่องมาอย่างยาวนาน สิ่งนี้เป็นอีกหนึ่งสัญญาณของการหมดไฟในการทำงานหรือ Burnout ด้วย พนักงานที่เหนื่อยล้ามักรู้สึกขาดการควบคุมสิ่งที่เกิดขึ้นในงานและในชีวิตส่วนตัว ส่งผลให้นอนหลับไม่สนิท พลังงานลดลง และแรงจูงใจในการทำงานน้อยลง พนักงานที่รู้สึกเหนื่อยล้าทางด้านอารมณ์อาจแสดงออกด้วยการเปลี่ยนแปลงของประสิทธิภาพการทำงาน เช่น ทำงานไม่เสร็จทันกำหนดส่งงาน มี Productivity และความมุ่งมั่นในงานต่ำลง  และการขาดงานเพิ่มสูงขึ้น


🎯ให้พนักงานได้พักหรืองีบหลับเป็นประจำ

🎯จำกัดการล่วงเวลางาน (OT) โดยให้ตามการอนุมัติเท่านั้น

🎯จัดหาอาหารที่ดีต่อสุขภาพให้พนักงานเพื่อเป็นแหล่งพลังงานที่ดีสำหรับพวกเขา

ความไม่ปลอดภัย

ความไม่ปลอดภัยหรือไม่มั่นคงในที่ทำงานทั่วไปจะเกี่ยวกับเรื่องเงินเดือน ปริมาณงาน การยอมรับ ความก้าวหน้า ความสัมพันธ์ ประสิทธิภาพการทำงาน ความสำเร็จอื่น ๆ ความมั่นใจ และความมั่นคงในงาน พนักงานที่รู้สึกไม่ปลอดภัยอาจจะรู้สึกกลัวการสูญเสียงาน ขาดความมั่นใจ และรู้สึกกังวลเกี่ยวกับเป้าหมาย ประสิทธิภาพการทำงาน ความสามารถของพวกเขา หรือความสัมพันธ์กับผู้อื่น ความรู้สึกไม่ปลอดภัยสามารถนำไปสู่แรงจูงใจและ Productivity ที่ลดลง ความเครียด และการ Burnout 

🎯จัดให้มีการทำแบบสอบถามสั้น ๆ หรือ  Pulse surveys เป็นประจำและดำเนินการตามที่ได้รับฟีดแบ็กมา เพื่อแสดงให้เห็นว่าความคิดเห็นของพวกเขานั้นสำคัญ

🎯ชื่นชมพนักงานของคุณสำหรับความพยายามที่ถูกทิศทางในการทำงาน แม้ว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ช้าก็ตาม

🎯สื่อสารกับพนักงานอย่างชัดเจนว่าอะไรคือสิ่งที่คาดหวังจากพวกเขา

🎯จัดหาโอกาสในการฝึกอบรมต่าง ๆ ที่ส่งเสริมการเติบโตในหน้าที่การงาน

ผู้จัดการที่ใส่ใจและดำเนินการในเรื่องนี้มีบทบาทสำคัญในด้าน Well-being ของทีม ซึ่ง Well-being ของพนักงานส่งผลต่อ Productivity, ความผูกพันต่อองค์กร, และความร่วมมือ การจัดการ Well-being เริ่มต้นด้วยความเข้าใจถึงสาเหตุ และนี่เองที่ทำให้ Pulse surveys และบทสนทนา One-on-one มีความสำคัญ ความเครียดและปริมาณงานมักจะเป็นปัจจัยที่มีสาเหตุมาจาก Well-being ต่ำ แต่ปัจจัยอื่น ๆ ก็สามารถพบได้บ่อยและต้องการการแก้ไขที่แตกต่างกันไป

ผู้จัดการควรส่งเสริมและสนับสนุน Well-being ในที่ทำงานด้วยการเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องรูปแบบการใช้ชีวิตที่ส่งเสริมสุขภาพที่ดีและแสดงออกถึงความห่วงใยอย่างจริงใจต่อผู้อื่น ในขณะเดียวกัน ผู้จัดการไม่ควรรับผิดชอบต่อ Well-being ของทีมเพียงผู้เดียว แต่ควรเน้นที่การสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและให้การสนับสนุน


Happily.ai ช่วยผู้จัดการพัฒนา Well-being ของทีมด้วยข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์และการสะกิดพฤติกรรม (Nudges) ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงในเวลาที่เหมาะสม ผู้จัดการสามารถรู้ถึงความเคลื่อนไหวของทีมและระบุได้อย่างรวดเร็วว่ามีความเครียดหรือประสบกับ Well-being ที่มีระดับต่ำอยู่ ทำให้เรื่อง Well-being เป็นสิ่งสำคัญสูงสุดในวันนี้และสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่ Happily.ai

Subscribe to Smiles at Work | The Official Happily.ai Blog newsletter and stay updated.

Don't miss anything. Get all the latest posts delivered straight to your inbox. It's free!
Great! Check your inbox and click the link to confirm your subscription.
Error! Please enter a valid email address!