ปัจจุบันการรักษาพนักงาน (Employee Retention) กลายเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก โดย 87% ของผู้บริหารฝ่ายบุคคลให้ความสนใจและให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ จาก ปรากฎการณ์การลาออกครั้งใหญ่ (The Great Resignation) อัตราการลาออกของพนักงาน (Turnover rate) ก็พุ่งสูงขึ้น รายงานของ Teamstage พบว่า พนักงาน 31% ลาออกภายใน 6 เดือนแรกและพนักงานเกินกว่าครึ่งไม่รู้สึกผูกพันและมีส่วนร่วมกับงาน (Disengage at work) เป็นผลให้องค์กรต่าง ๆ ต้องทบทวนและปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การรักษาพนักงานไว้ เพื่อแข่งขันกับบริษัทอื่นในอุตสาหกรรม เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเหนือสิ่งอื่นใดเพื่อการเติบโตของบริษัทเอง สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดคำถามตามมาว่า

  1. การรักษาพนักงานคืออะไร
  2. ทำไมความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน (Employee Engagement) จึงจำเป็นต่อการรักษาพนักงาน
  3. กลยุทธ์การรักษาพนักงานหลังยุค COVID-19 คืออะไร

การรักษาพนักงานคืออะไร

การรักษาพนักงาน (Employee Retention) คือ เป้าหมายขององค์กรที่ต้องการรักษาพนักงานที่มีฝีมือและลดการลาออกของพนักงาน โดยการเพิ่มความผูกพันต่อองค์กรหรือ Engagement  ให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตของพนักงาน และส่งเสริมสมดุลชีวิตและการทำงานของพนักงาน (ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่บทความ การรักษาพนักงานและความสำคัญของเรื่องนี้) Happily ช่วยองค์กรเพิ่ม Engagement เพื่อรักษาพนักงานที่มีคุณภาพผ่านเครื่องมือดังนี้

  • แบบสำรวจความสุขรายวัน (Daily Pulse Survey) : เสริมสร้างความไว้ใจและการทำงานในทิศทางเดียวกันระหว่างคนในทีม
  • การให้ Feedback และการชื่นชมขอบคุณกัน  (Recognition) อย่างต่อเนื่อง : การให้ Feedback และ Recognition กับพนักงานที่ขาดความต่อเนื่อง บวกกับการสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพคือส่วนประกอบของการบริหารและภาวะผู้นำที่ไม่ดี ซึ่งเป็นสาเหตุแรกของการลาออกของพนักงาน (Employee Turnover)
  • ส่งเสริมการเรียนรู้และเพิ่มโอกาสการแบ่งปันความรู้ในองค์กร : 76% ของพนักงานใหม่ชอบการเรียนรู้จากหน้างานจริง ซึ่งองค์กรที่มีอัตรา Turnover สูงมักจะละเลยเรื่องนี้

ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับพนักงาน

เรียนรู้เพิ่มเติม

ทำไม Employee Engagement ถึงจำเป็นต่อการรักษาพนักงาน

Employee Engagement เป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา แต่บางครั้งพบว่า องค์กรเลือกใช้วิธีกดดันและบังคับให้เกิดการมีส่วนร่วมกับงานเสียมากกว่า

เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน จึงขอนิยามว่า Employee Engagement คือการมีส่วนร่วมและความกระตือรือร้นของพนักงานต่อองค์กร ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับผลงานของพนักงานและขององค์กร และยังส่งผลดีต่อองค์กรในด้านอื่น ๆ อีกด้วย เช่น การรักษาพนักงาน ความภักดีต่อองค์กร ผลิตภาพและผลกำไร ดังน้้นพนักงานที่มีส่วนร่วมและมีความผูกพันกับงาน (Engaged Employee) จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำงานในองค์กรนานขึ้น สร้างผลิตภาพสูงขึ้น และสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้าได้มากขึ้น

ในทางกลับกัน พนักงานที่ไม่มีส่วนร่วมกับงาน (Disengaged Employees) คือสาเหตุสำคัญของการลาออก พนักงานกลุ่มนี้จะขัดขวางการเติบโตของบริษัท เพราะพวกเขาทำให้ขวัญกำลังใจของเพื่อนร่วมงานลดลง และเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีต่อคนในทีม นอกจากนี้ จากสถิติ พบว่า 73% ของพนักงานที่ยังคงอยู่ในบริษัทต่อ เพราะพวกเขามีโอกาสเพิ่มพูนทักษะมากกว่า และเพียง 12% ของพนักงานที่ชี้ว่า บริษัทสร้างประสบการณ์ที่ดีแก่เขาในช่วงแรกของการทำงาน (Onboarding) ทั้งโอกาสในการเพิ่มทักษะและประสบการณ์ที่พบเจอในช่วงแรกของงานสะท้อนระดับของการมีหรือไม่มี Engagement ขององค์กรนั้น ๆ ดังนั้นหากบริษัทไม่ให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมและความผูกพันต่องานจะส่งผลให้ขวัญกำลังใจในการทำงานลดลงและมีอัตราการลาออกสูงขึ้น  (ลองคำนวน Employee Engagement ROI calculator เพื่อดูว่าการลาออกของพนักงานที่ไม่ต้องการคิดเป็นต้นทุนขององค์กรคุณเท่าไหร่!)

แล้วจะสร้าง Engagement ของพนักงานอย่างไรละ?

💡
Happily ช่วยบริษัทประกันระดับโลกสร้างวัฒนธรรมการให้ Feedback และให้ความสำคัญกับพนักงาน ด้วยอัตราการเข้าร่วมสูงถึง 92% ได้อย่างไร?

ฝ่ายบุคคลของบริษัทประกันแห่งหนึ่งต้องการเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรและสร้าง Engagement ของพนักงาน โดยเจาะที่หน่วยธุรกิจที่มีความท้าทายมากที่สุดในช่วงเวลาสั้น ๆ บริษัทมีความคิดอยากสร้างกิจกรรมและการมีส่วนร่วมสำหรับพนักงานที่เมื่อก่อนพนักงานไม่เข้าร่วมและไม่ให้ความร่วมมือในกิจกรรมต่าง ๆ ของบริษัท โดยที่หลังจากใช้งาน Happily เป็นระยะเวลา 6 เดือน ได้ผลลัพธ์ดังนี้ คือ
1) ความสุขโดยรวมของคนในบริษัทเพิ่มขึ้น 22%
2) คะแนนความสำเร็จในมิติคุณภาพชีวิต (Wellness) เพิ่มขึ้นจาก 43% เป็น 63% ส่งผลให้การขาดงานแบบไม่พึงประสงค์ลดลงถึง 18%!
3) พนักงานถึง 94% เพิ่มการพูดคุยกับผู้จัดการหรือหัวหน้างานตนเองผ่านแอปพลิเคชัน
4) คะแนนความสำเร็จในด้าน Recognition เพิ่มขึ้นจาก 35% เป็น 78% โดยมีอัตราของผู้เข้าร่วม Peer-to-Peer Recogniton หรือการชื่นชมขอบคุณกันและกันระหว่างเพื่อนร่วมงานในบริษัทสูงถึง 92% และผู้จัดการถึง 80% ได้ชื่นชมและขอบคุณทีมงานของตนเอง

5 กลยุทธ์สำคัญเพื่อรักษาพนักงานไว้ในองค์กรสำหรับปี 2022 นี้

  1. ให้พนักงานเป็นส่วนหนึ่งกับวัฒนธรรมการให้และรับ Feedback
    การมอบอำนาจให้ พนักงาน หรือ Employee Empowerment คือ การให้อิสระพนักงานในการตัดสินใจ จากความรู้ ทักษะและประสบการณ์ที่มี โดยที่ยังอยู่ในกรอบนโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติขององค์กร นอกจากนี้ยังหมายถึงการเปิดพื้นที่ให้เติบโตในหน้าที่การงาน ผ่านโอกาสในเรียนรู้และพัฒนาตนเอง รวมถึงการให้ Feedback สะท้อนประสิทธิภาพในการทำงานอย่างสม่ำเสมอ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้พวกเขาพัฒนาตนเองต่อไป วัฒนธรรมการให้และรับ Feedback จำเป็นต่อการสร้างการมีส่วนร่วมอย่างครบวงจร  ทำให้พนักงานรู้สึกสามารถแสดงความเห็นได้อย่างอิสระและความเห็นของพวกเขาถูกรับฟังจริง ๆ  และพนักงานจะอยากมีส่วนร่วมในการตัดสินใจต่อเรื่องที่กระทบกับงานและทิศทางของบริษัทอีกด้วย
  2. ให้แรงจูงใจ (Incentives) และให้การชื่นชมและขอบคุณกับพนักงาน (Recognition)
    โดยทั่วไปแล้วพนักงานจะถูกกระตุ้นผ่านความรู้สึกที่ได้ทำงานสำเร็จ ได้การยอมรับและบริษัทให้ความสำคัญ รวมถึงรางวัลตอบแทน การให้ความสำคัญกับพนักงาน (Recognition) เป็นสิ่งที่ส่งผลดีกับคุณค่าหลักขององค์กร เพราะแทบจะไม่ต้องเสียเงินทุนในการสร้างและยังส่งผลอย่างมากต่อความกระตือรือร้นในการทำงาน ขวัญกำลังใจ และความเป็นอยู่ของพนักงาน จากงานศึกษาของเรา พบว่า หากเราได้รับการชื่นชมยอมรับจากผู้อื่น แล้วเราก็จะส่งต่อสิ่งนี้ให้คนอื่นเช่นกัน ดังนั้นการให้ความสำคัญกับพนักงานจะช่วยเสริมคุณค่าขององค์กร ผลักดันพนักงาน และสร้างให้วัฒนธรรมองค์กรแข็งแรง
  3. สร้างสมดุลชีวิตและการทำงาน (Work-life balance)
    การสร้างสมดุลระหว่างชีวิตภายในและภายนอกที่ทำงานเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นต่อความสุขในการทำงานของพนักงาน หากองค์กรให้สิทธิพนักงานกำหนดชั่วโมงการทำงานเอง หรือแม้กระทั่งเลือกสถานที่ทำงานได้เอง จะช่วยพนักงานสร้างสมดุลได้ดีขึ้น หลังเกิดโรคระบาด COVID-19 นโยบายการทำงานนอกออฟฟิศจึงได้รับการพัฒนาอย่างจริงจัง แต่ยังมีคำถามตามมาว่า พนักงานจะสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเมื่อทำงานนอกออฟฟิศจริงหรือ (อ่านเพิ่มเติมเรื่องการทำงานที่บ้านและปัญหาที่เกิดขึ้นได้ที่บทความนี้)
    อย่างไรก็ตาม พนักงานไม่ได้ใช้ชีวิตเพื่อการทำงานอย่างเดียว ทุกคนมีชีวิตที่นอกเหนือจากงานด้วย และพวกเขาต้องการให้หัวหน้าตระหนักเรื่องนี้ หากบริษัทเข้าใจและตระหนักถึงประเด็นนี้จะช่วยให้พนักงานมีความเครียดจากทำงานน้อยลงและลดโอกาสหมดไฟในการทำงานด้วย
  4. จัดโปรแกรมพัฒนาและฝึกฝน
    โครงการฝึกฝนและพัฒนาจะเปิดโอกาสให้พนักงานเพิ่มพูนทักษะการทำงาน ซึ่งจะเพิ่มศักยภาพในการทำงานและเตรียมพร้อมพนักงานสำหรับความก้าวหน้าและเติบโตในองค์กร อย่างที่ได้พูดถึงไป 73% ของพนักงานที่เลือกอยู่ในองค์กรต่อไป เนื่องจากพวกเขาได้รับโอกาสในการพัฒนาทักษะและเพิ่มพูนศักยภาพของตนเองมากกว่า สำหรับหัวหน้าสามารถให้ feedback แก่พนักงานเรื่องเพิ่มศักยภาพและพัฒนาทักษะได้ด้วยเช่นกัน Achievers ระบุว่าการลงทุนในทรัพยากรบุคคลมีความเกี่ยวข้องกับอัตราการหมุนเวียนพนักงาน จึงกล่าวได้ว่า กลยุทธ์การรักษาพนักงานจะต้องรวมการลงทุนในโปรแกรมพัฒนาบุคลากรเพื่อเปิดโอกาสให้พนักงานได้เพิ่มพูนทักษะและศักยภาพในการทำงาน เพื่อสร้างแรงจูงใจและรักษาพวกเขาให้คงอยู่ในองค์กรต่อไป
  5. จูงใจด้วยโปรแกรมดูแลคุณภาพชีวิตของพนักงาน
    การดูแลสุขภาพกายใจและการเงินของพนักงานนั้นสำคัญ ตั้งแต่เกิดการระบาดของโรค COVID-19 อัตราการลาออกของพนักงานก็สูงขึ้น หลายบริษัททบทวนสวัสดิการการดูแลคุณภาพชีวิตของพนักงานเพื่อตอบรับและสนับสนุนการทำงานของพนักงาน จากผลการศึกษาของ McKinsey ยิ่งตอกย้ำว่าพนักงานทั่วโลกครึ่งหนึ่งประสบสภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout) สวัสดิการที่ดูแลคุณภาพชีวิตพนักงานเหล่านี้จะช่วยลดโอกาสเกิดภาวะหมดไฟได้ เช่น ส่วนลดสมาชิกฟิตเนส ค่าสมาชิกรายเดือนของบริการหรือสื่อบันเทิงที่พนักงานสนใจ เป็นต้น

กล่าวโดยสรุปแล้ว กลยุทธ์เพื่อรักษาพนักงาน 5 ข้อข้างต้นนั้น เป็นไปเพื่อเพิ่มความพึงพอใจในงานและเสริมแรงผลักดันในการทำงานแก่พนักงาน หากองค์กรนำไปใช้ก็จะสร้างผลกระทบต่อวัฒนธรรมองค์กรได้ และสิ่งสำคัญที่สุดคือการสร้าง Engagement ของพนักงาน เพื่อรักษาพนักงานที่มีคุณภาพสูง เสริมสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่ดี และทำให้องค์กรเติบโตไปในทิศทางที่วางเอาไว้ การให้ผลตอบแทนเป็นตัวเงินอย่างเดียวอาจจะไม่ตอบโจทย์การรักษาพนักงานที่มีประสิทธิภาพไว้ได้ ฉะนั้นผู้นำองค์กรจึงควรพิจารณาปรับใช้กลยุทธ์ข้างต้น เพื่อแก้ปัญหาเรื่องประสิทธิภาพการทำงานในปัจจุบัน


Happily.ai เป็นแพลตฟอร์มที่รวบรวมทุกอย่างเกี่ยวกับประสบการณ์ของพนักงานที่ส่งเสริมวัฒนธรรมเชิงบวกในที่ทำงาน องค์กรใช้ Happily เพื่อช่วยการ Check-in รายวันกับพนักงาน ช่วยสร้างบทสนทนาที่ดีขึ้น ช่วยพัฒนาเหล่าผู้จัดการขององค์กร และช่วยส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมเชิงบวกให้มากขึ้น เรายังนำเสนอข้อมูลเชิงลึกเรื่องความสุขและ Well-being ของพนักงานแบบเรียลไทม์เพื่อช่วยให้คุณเข้าใจทีมและคนของคุณให้ดียิ่งขึ้น เยี่ยมชมเว็บไซต์เราหรือลงทะเบียนเพื่อรับฟังการ Demo และเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีที่ดีที่สุดในการ Engage กับพนักงานของคุณ!

Share this post