โดยทั่วไปตัวชี้วัดสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ตัวชี้วัดนำ (Leading Indicator) และ ตัวชี้วัดตาม (Lagging Indicator) แต่การเลือกใช้ตัวชี้วัดที่เหมาะสมและตอบโจทย์การประเมินผลงาน (Performance) และการมีส่วนร่วมในองค์กร (Employee Engagement) ต้องผ่านการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เพราะการประเมินเป็นเครื่องมือสำคัญที่ส่งเสริมการเติบโตและความสำเร็จขององค์กร

Leading Indicators คืออะไร ?

ตัวชี้วัดชนิดนี้จะวัดผลเชิงรุกและคาดการณ์ผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ช่วยให้เห็นภาพที่จะเป็นไปและองค์กรสามารถเข้ามาบริหารจัดการให้ Performance ดีขึ้น ก่อนที่ปัญหาจะเกิดขึ้นได้ ตัวอย่างของตัวชี้วัดนำนี้ เช่น Employee Engagement Survey, Feedback ที่มีต่อ Performance และการประเมินทักษะความสามารถ (Skill Assessment)

Lagging Indicators คืออะไร ?

เป็นตัวชี้วัดที่ประเมินผลในสิ่งที่ผ่านมาแล้ว ทำให้เข้าใจว่า ผลที่เกิดขึ้นในอดีตเป็นอย่างไร มีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน ตัวอย่างเช่น อัตราการลาออก (Turnover) อัตราการขาดงาน และรายได้ของบริษัท

ทำไม Leading Indicators ถึงวัดผล Employee Engagement และ Performance ได้ดีกว่า ?

Leading Indicator สามารถบอกได้ว่า เรื่องใดมีแนวโน้มที่จะเป็นปัญหาในอนาคตได้ เช่น การสำรวจและประเมิน Employee Engagement จะช่วยให้ข้อมูลกับองค์กรได้ว่า เรื่องใด จุดไหนที่ควรเข้าไปแก้ไข เพราะเป็นสาเหตุให้พนักงานรู้สึก Disengaged หรือก็คือไม่รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับองค์กรและไม่มีใจในการทำงาน หรือเพราะเป็นความเสี่ยงให้พนักงานลาออก เป็นต้น

ในทางกลับกัน Lagging Indicator จะให้ข้อมูลที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่สามารถนำมาคาดการณ์หรือป้องกันและรับมือกับสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ ถึงแม้ตัวชี้วัดอย่างอัตราการขาดงานและการ Turnover จะช่วยให้เข้าใจรูปแบบและแนวโน้มที่เกิดขึ้นตามช่วงเวลาได้ก็ตาม แต่ก็ไม่เหมาะสำหรับนำมาใช้เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงและพัฒนา Performance เท่าใดนัก

ตัวอย่าง Leading Indicator ในที่ทำงาน

ตัวชี้วัดแบบ Leading ที่องค์กรนำมาใช้มีหลากหลาย เช่น

  • Employee Engagement Survey: การทำแบบสำรวจ Employee Engagement เป็นประจำ จะช่วยให้เห็นระดับของ Engagement ในองค์กรและช่วยชี้ให้เห็นถึงเรื่องที่สามารถแก้ไขและปรับปรุงให้ดีขึ้นได้
Employee engagement survey 2023 Happily.ai
  • การ Feedback Performance: การให้ Feedback ต่อ Performance ช่วยให้พนักงานพัฒนาผลงานของตนได้ Engagement และ Productivity ของพนักงานก็จะเพิ่มขึ้นได้
  • การประเมินทักษะความสามารถ: เมื่อรู้ว่าพนักงานต้องพัฒนาทักษะด้านไหน และองค์กรก็จัดหาโปรแกรมฝึกอบรมที่ตรงกับพนักงานแต่ละคน นอกจากจะช่วยเพิ่ม Performance แล้ว ก็ยังช่วยให้ Employee Engagement เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

บทบาทของ HR และหัวหน้างานในการใช้ Leading Indicator วัดผล

แม้ว่า HR จะสร้างกระบวนการและนำ Leading Indicator เข้ามาวัดผลด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Employee Engagement หรือ ทักษะของพนักงาน แต่ท้ายที่สุดหัวหน้างานคือคนที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในทีมได้ เพราะหัวหน้างานคือคนที่ต้องวิเคราะห์ผลลัพธ์การประเมินและนำไปสู่การปฏิบัติจริง แม้จะมีเครื่องมือครบถ้วนและได้รับการสนับสนุนจาก HR แล้ว แต่หัวหน้างานที่ไม่สามารถใช้ข้อมูลได้อย่างเต็มที่ก็เปล่าประโยชน์

ดังนั้นการสื่อสารและร่วมมือกันทำงานอย่างต่อเนื่องระหว่าง HR และหัวหน้างาน รวมถึงการยึดมั่นต่อการพัฒนาที่ไม่สิ้นสุดจึงเป็นสิ่งจำเป็น หากองค์กรนำ Leading Indicator ไปใช้พร้อมกับให้อำนาจหัวหน้างานในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงอย่างเต็มที่ องค์กรถึงจะสามารถพัฒนา Employee Engagement และ Performance ได้ตามที่คาดหวัง นั่นก็คือพนักงานจะมุ่งมั่นทำงานอย่างเต็มกำลังความสามารถ ซึ่งนำไปสู่ผลกำไรบริษัทที่ดีขึ้นในท้ายที่สุด

ให้ข้อมูลเชิงลึกกับหัวหน้างาน เพื่อดูแลคนในทีมแบบเรียลไทม์

ทำความรู้จัก Happily.ai ได้ที่นี่

สรุป

Leading Indicator เหมาะสมกับการวัด Performance และการมีส่วนร่วมของพนักงานในองค์กรมากกว่า นำตัวชี้วัดอย่าง Employee Engagement Survey, การให้ Feedback  Performance และการประเมินทักษะความสามารถมาใช้งานจะช่วยให้เห็นจุดที่ต้องปรับปรุงและพัฒนา ก่อนที่จะเกิดปัญหาในอนาคตได้ หากคุณอยากจะทำให้บริษัทเติบโตและประสบความสำเร็จ Leading Indicator คือคำตอบ!

Share this post