คำว่า Onboarding หรือ การต้อนรับและฝึกฝนพนักงานใหม่นั้น หลายคนที่ทำหน้าที่บริหารจัดการอาจจะมีความคุ้นเคยกันดี ถึงแม้บางส่วนอาจจะยังไม่คุ้นเคยกับศัพท์คำนี้ เพราะอย่างไรถ้าเป็นองค์กรแล้วก็ต้องมีคนเข้าคนออก และเข้าคนเข้าใหม่ๆก็จะมีความไม่คุ้นเคยกับระบบการทำงาน วัฒนธรรมการทำงาน ตลอดไปจนถึงอำนาจที่ตัวเองมีว่า อันไหนทำได้ ไม่ได้ ดังนั้น การ Onboarding จึงเป็นอะไรที่สำคัญมากๆ ถ้ามีการ Onboarding ที่ดี พนักงานก็จะทำงานได้เร็ว ทำงานได้เต็มที่

เอาล่ะ คุณคงพอจะเข้าใจความหมายง่ายๆของคำว่า Onboarding เรียบร้อยแล้ว แต่

คุณก็อาจจะเจอกับปัญหาใหม่ นั่นคือ Re-Onboarding ซึ่งคุณอาจจะไม่เข้าใจว่า มันคืออะไร ต้อนรับพนักงานเดิมแต่ใหม่งั้นหรือ?

หรือว่า พนักงานก็เคย Onboarding มาแล้ว ทำไมถึงค้องทำซ้ำซาก?

ดังนั้น วันนี้เราจะมาช่วยทำความเข้าใจให้กับคุณ พร้อมกับช่วยให้คุณได้มองเห็นถึงความสำคัญของการทำ Re-Onboarding กัน

Re-Onboarding คืออะไร?

ถ้าคุณคุ้นเคยกับ Onboarding แล้ว ในข้อนี้จะไม่มีอะไรที่สามารถทำความเข้าใจได้อย่างยากเย็นเลย นั่นก็คือ การนำเอาการ Onboarding มาใช้กับพนักงานชุดเดิมที่ยังอยู่กับคุณอยู่ แต่ชิฟไปในธีมของ การเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นในองค์กร ไม่ว่าจะเป็น ระบบการทำงานที่มีการเปลี่ยนแปลง เป้าหมายใหม่ ตลอดไปจนถึง การเปลี่ยนแปลงเชิงวัฒนธรรมองค์กรต่างๆที่เกิดขึ้น

ซึ่งการทำสิ่งนี้จะเหมาะกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อคนทั้งองค์กร ซึ่งเราจะอธิบายให้คุณในช่วงถัดไป

ทำไมหลายองค์กร ถึงเริ่มให้ความสำคัญ?

หลังจากที่เหตุการณ์อย่าง การระบาดของ Covid-19 เกิดขึ้นมา ทำให้องค์กรต่างๆเริ่มมีวิถีการทำงานที่แปรเปลี่ยนไปจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น จากทำงานที่ออฟฟิส กลายเป็นไปทำงานจากบ้านกันมากขึ้น นำมาสู่ความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานกับ องค์กรที่เปลี่ยนแปลงไปในเชิงห่างเหินมากกว่าที่เคยเป็นมา ตลอดจนระบบการทำงานต่างๆที่ค่อยๆเปลี่ยนแปลงไปตลอดช่วงที่มีการ lockdown ทั้งการทำ digital transformation อย่างเต็มรูปแบบเป็นต้น ดังนั้น การกลับมาทำงานของพนักงานของครั้ง ก็กลายเป็นเหมือนกับพนักงานใหม่ที่พึ่งเข้ามาเพราะทุกอย่างนั้นแปรเปลี่ยนไปเสียหมด ทำให้การ Re-Onboarding นั้น ถือว่าเป็นก้าวสำคัญ ที่เหมือนกับช่วย refresh พนักงานให้สามารถปรับตัวกับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ดีมากยิ่งขึ้น

แต่ผู้ที่จะได้ประโยชน์ที่สุด นั้นก็คือ พนักงานใหม่ที่เข้ามาทำงานในช่วง lockdown ที่ในช่วงที่ผ่านมา คุณจะสามารถเห็นได้เลยว่า มีการจ้างงานพนักงานจำนวนมาก โดยที่พนักงานหลายคนนั้นถึงแม้จะเคยได้รับการ Onboarding มาแล้วครั้งหนึ่ง แต่ก็ไม่เคยมีโอกาสได้เข้าออฟฟิสเลย ดังนั้น พวกเขาถึงแม้จะรู้ถึง Process การทำงานต่างๆ แต่อาจมีปัญหาเมื่อเข้าออฟฟิสจริง เนื่องมาจาก การไม่อาจปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมของทางองค์กรหลัก ที่นอกเหนือไปจากการที่ทำงานในแผนก หรือ sub business unit ที่ตัวพนักงานเองทำงานอยู่ ดังนั้น ถึงแม้จะเคย Onboarding online ไปเรียบร้อยแล้วก็ยังคงไม่เพียงพอ ที่จะช่วยให้ได้เป็น “ส่วนหนึ่งขององค์กร” มากกว่าจะรู้สึกว่าเป็นเพียงแค่ “Outsources” ที่เพียงรับจ้างมาทำงาน ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์กร เพียงรับเงินก็จบ

การเป็นส่วนหนึ่งของ Culture นั้น สำคัญขนาดไหน?

คุณสามารถศึกษาถึงความสำคัญของ Culture ได้จากหนังสือของเรา ที่นอกจากจะช่วยให้คุณเข้าใจถึงความสำคัญของการสร้างวัฒนธรรมองค์กรได้แล้ว คุณยังสามารถวัดผลว่า ตอนนี้วัฒนธรรมองค์กรคุณอยู่ในระดับใด และจะสร้างเสริมให้แก้ไขอย่างใด เพื่อที่จะสามารถปรับปรุงได้อย่างทันเวลา กรอกข้อมูลเพื่อดาวน์โหลดไปศึกษาและปฏิบัติกันได้เลย:

Share this post