การ Re-onboarding อย่างที่ทางเราได้กล่าวถึงในตอนที่ผ่านมา ที่สิ่งนี้จะเป็นขั้นตอนที่ช่วยให้พนักงานที่ต้องห่างจากการอยู่ภายใต้ dynamic ของการทำงานแบบองค์กรเต็มรูปแบบมานาน รวมไปถึงพนักงานที่เข้ามาใหม่แล้วต้อง remote working มาโดยตลอดนั้น ได้มีโอกาสได้เข้ามาเรียนรู้ ปรับตัว มาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรอีกครั้งหนึ่ง อย่างแท้จริง

แต่จะทำอย่างไรให้ การ Re-onboarding นั้นมีประสิทธิภาพ และไม่เป็นการเสียเวลาผู้ที่ลงมาจัดการกิจกรรมในส่วนนี้ และส่งผลในเชิงบวกต่อองค์กร วันนี้เรามี เคล็ดลับ 4 ข้อ มาให้คุณ

จัดการต้อนรับพนักงานอย่างอบอุ่น

คุณลองนึกถึงความรู้สึกตอนที่ต้องไปทำงานวันแรก วันที่ต้องเข้าเรียนในโรงเรียนใหม่เป็นปีแรก คุณคงรู้สึกระคน ทั้งตื่นเต้น ไม่มั่นใจ บางคนอาจหวาดกลัว หรือรู้สึกไม่สบายใจ ดังนั้น การที่บริษัทจะจัดกิจกรรมทั้ง ต้อนรับพนักงานใหม่ที่ไม่เคยได้เข้าออฟฟิส หรือ พนักงานเก่าที่ห่างหายไปนานเหมือนต้อนรับกลับบ้าน นั้นก็เป็นสิ่งที่สมควรทำอย่างมาก

ซึ่งกิจกรรมส่วนนี้สามารถทำได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น จัดกิจกรรมรวมกลุ่มแชร์ความรู้สึก ตลอดจนแจกขนมบนโต๊ะทำงาน ก็ล้วนสร้างความอุ่นใจให้กับพนักงานได้ว่า ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี

สื่อสารด้านความคาดหวังเชิงวัฒนธรรม ที่มีความชัดเจน

พนักงานใหม่ หรือแม้แต่พนักงานเดิมที่หายหน้าหายตาไป กลับมาก็อาจจะเกิดความสงสัย ไม่แน่ใจในเชิงวัฒนธรรมองค์ก็ไม่มีเว้น ว่า บริษัทที่ตนกำลังทำงานให้นั้น ยังคงเป็นบริษัทเดิมเหมือนกับก่อนที่จะต้องไปทำงานอยู่กับบ้านนานๆหรือเปล่า

เมื่อมีความคลุมเครือในใจ ย่อมนำมาสู่คำถามและความสงสัย ซึ่งถ้าถูกปล่อยไว้นั้นไม่มีทางเป็นผลดีกับ ดังนั้นฝ่ายที่จัดการในด้านนี้จะต้องมีการชี้แจงด้วย Outline ที่เพรียบพร้อม ตอบคำถามคาใจในแง่ต่างๆได้ เช่น ด้านการทำงาน, ข้อกำหนดเชิงสุขภาพ, ตลอดจน ด้านการประเมินผลงาน สำหรับสถานการณ์ในปัจจุบัน ต้องมีการชี้แจงอย่างชัดเจนว่า ยังคงเดิม หรือเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ในรายละเอียดจุดใดบ้าง

กิจกรรมสร้างความเป็นทีม (Team Building) ต้องให้ความสำคัญลำดับต้นๆ

การทำงานแบบออนไลน์นั้น ในระยะแรกๆมักจะสามารถทำงานกันเป็นทีมอยู่ได้ แต่พอผ่านไปนานๆ ต่างคนก็มักจะรู้สึก disconnected กันกับทั้งเพื่อนร่วมงานและองค์กร จนเมื่อประสบกับแรงกดดันหนักๆเข้า ก็มีแววคิดอยากจะลาออก หรือหมดใจจนทำงานได้ไม่ค่อยดี ดังนั้น การทำ Re-onboarding จึงมีอีกจุดประสงค์หนึ่ง คือ สร้างความเป็นทีมขึ้นมาอีกครั้ง ให้กลับมาเป็นทีมที่แข็งแกร่ง พร้อมที่จะกลับมาสร้างให้องค์กรเติบใหญ่อีกรอบหนึ่ง

ซึ่งกิจกรรมสร้างทีมนั้น สามารถทำได้มากมายหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น กิจกรรมแบบ brainstorming เพื่อระดมสมอง รวมทั้งจำลองสถานการณ์ในการทำงานร่วมกันระหว่าง สมาชิกทีมที่อาจจะไม่เคยทำงานร่วมกันเลย หรือไม่เคยเจอหน้าค่าตากันมาก่อนเลยแม้แต่นิดเดียว ให้เริ่มมีการแชร์ความคิด เห็นวิธีแก้ปัญหา รวมทั้ง ปฏิกริยาตอบโต้เวลาเจอความขัดแย้งหรือปัญหาที่แปลกประหลาด โดยการ organize กิจกรรมนี้ คุณสามารถใช้ฟีเจอร์ University จาก Happily.ai เข้ามาช่วยในการจัดงาน ลงทะเบียนเข้างาน รวมไปถึงแจกรางวัลผู้เข้าร่วมเพื่อเป็นสิ่งจูงใจได้โดยง่าย

ตรวจเช็ค (Check in) พนักงานและผู้จัดการอย่างสม่ำเสมอ

แน่นอนว่า การทำสิ่งต่างๆในรูปแบบบริษัท ย่อมต้องมีการติดตามผล ไม่ว่าจะเป็นเพื่อติดตามดูความก้าวหน้า หรือว่าว่าการทำงานนั้นมีประสิทธิภาพไหน การทำ onboarding และ re-onboarding นั้นก็มีความจำเป็นด้วยการใช้วิธีนี้เช่นเดียวกัน เพื่อที่จะตรวจเช็คว่า พนักงานนั้นสามารถปรับตัวกับบริษัทได้ดีมากน้อยเพียงใด

โดยการตรวจเช็คนั้นจะมาในรูปแบบ Daily Check In ซึ่งถ้าเป็นทีมขนาดเล็กมาก คุณอาจจะสามารถเดินไปถามเรียงคนได้ ด้วยการใช้คำถามตั้งแต่แบบง่ายๆอย่างเช่น รู้สึกอย่างไรบ้างเมื่อกลับมาทำงานอีกครั้ง เป็นต้น

Happily.ai ช่วยเช็คทีมงานของคุณอย่างมีประสิทธิภาพ!

Happily.ai Daily Pulse Survey
Daily Pulse Survey สุดยอดเครื่องมือการเช็คความสุขของทีมงาน ทุกที่ ทุกเวลา

แต่ถ้าทีมเริ่มใหญ่เกิน 20 คน แล้วคุณในฐานะเจ้าของหรือผู้จัดการก็มีงานล้นมือ การทำการ Check in ลูกจ้างนั้นอาจต้องนำเครื่องมือเข้ามาช่วย เพราะนอกจากจะต้องใช้คำถามเสียอย่างน้อย 1 set ต่อวันเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างครบถ้วนแล้ว ยังต้องใช้เวลาอย่างน้อย 90 วัน เพื่อที่จะได้ทราบผลลัพท์ชัดเจนอีกด้วย ดังนั้น เครื่องมืออย่าง Happily.ai ที่มีระบบ Daily Check In ด้วยคำถามที่ออกแบบมาอย่างถูกหลักพฤติกรรมศาสตร์สำหรับองค์กร พร้อมระบบวิเคราะห์ที่ทำให้คุณสามารถเข้าใจความเป็นไปของพนักงานแต่ละคนได้โดยง่าย ทำให้คุณสามารถบริหารพนักงานทั้งใหม่ เก่า ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทดลองใช้ได้เลย เพียงลงทะเบียนด้านล่างนี้ คุณจะได้รับสิทธิ์ในการทดลองใช้งาน ฟรี!

Share this post