มันไม่ได้อยู่ที่ตัวคุณเองหรอกนะ เพราะฉะนั้นสบายใจได้ งานวิจัยที่พวกเราทำการศึกษากันอยู่ บอกเราว่ามันเป็นเรื่องของวัฒนธรรมองค์กรต่างหาก แต่เราสามารถปรับเปลี่ยนอะไรบางอย่าง เพื่อทำให้การชื่นชมหรือการมองเห็นความสำคัญนั้น เป็นสิ่งที่หัวหน้าหรือผู้จัดการเองก็มีสิทธิได้รับเช่นกัน

ระดับขั้นของการชื่นชม

การชื่นชมและการให้ความสำคัญเป็นสิ่งที่สำคัญมากในโลกของการทำงานปัจจุบัน เพราะมันเปรียบเสมือนยาที่คอยให้กำลังใจและกระตุ้นพนักงานที่ทำงานให้มีแรงทำผลงานดีๆ ต่อไป ซึ่งหัวหน้าหรือผู้จัดการก็เหมือนเภสัชกร ที่สั่งจ่ายยาเม็ดนี้ให้กับเพื่อนร่วมงานหรือลูกทีมของพวกเขา แต่ในปัจจุบัน มีช่องทางออนไลน์หรือออนไลน์แพลตฟอร์มอย่าง Kudos และ Happily.ai ที่ทำให้พนักงานสามารถให้คำชื่นชมแก่เพื่อนร่วมงานได้เช่นกัน

การจัดการวิเคราะห์ข้อมูลบุคลากรหรือที่เรียกกันว่า People Analytics ในแวดวงของฝ่ายทรัพยากรมนุษย์นั้น ถือเป็นวิธีการที่ทำให้เราสามารถเข้าใจว่าพนักงานในแต่ละองค์กรมีวิธีการแสดงออกทางพฤติกรรมหรือการทำงานอย่างไร และเมื่อเรามองในส่วนของการชื่นชมและการให้ความสำคัญ เราพบว่าหัวหน้าหรือผู้จัดการเป็นคนที่ได้รับสิ่งนั้นน้อยกว่าใครเพื่อน และยิ่งตำแหน่งในองค์กรของคุณสูงมากเท่าไหร่ มันก็ยิ่งยากขึ้นสำหรับคุณที่จะได้รับคำชื่นชมจากคนอื่นๆ

ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น? และเพราะอะไรการชื่นชมดันเป็นเรื่องของหัวหน้าที่ต้องทำกับลูกน้องซะเป็นส่วนใหญ่ หรือหลายๆ คนมองว่าไม่มีเหตุผลที่จะต้องไปชื่นชมผู้จัดการและหัวหน้ากันแน่? งานวิจัยของเราจะพยายามหาเหตุผลของเรื่องดังกล่าว รวมถึงผลกระทบที่ตามมาอีกด้วย

การชื่นชมผู้จัดการ
ผู้จัดการที่ไม่เคยได้รับเหรียญเลย

หัวหน้าได้รับการชื่นชมและการให้ความสำคัญน้อยกว่าใครเพื่อน

เราสันนิษฐานว่า

ยิ่งตำแหน่งของคุณสูงมากเท่าไหร่ มันก็จะยิ่งยากขึ้นที่จะได้รับคำชื่นชมจากคนอื่นๆ ในองค์กร ทีนี้ — มาดูงานวิจัยของเรากัน

เราทำการรวบรวมข้อมูลในหัวข้อของการชื่นชมและการให้ความสำคัญ (Recognition) ของ 4 บริษัท โดยใช้ข้อมูลที่มาจากบุคลากรในตำแหน่งหัวหน้าทีมหรือผู้จัดการ 151 คนและลูกน้องอีก 768 คน โดยแต่ละคนจะสามารถให้เหรียญกับใครก็ได้ในบริษัทเพื่อแทนคำชื่นชมหรือขอบคุณ

อย่างแอปพลิเคชัน Happily.ai เองก็มีลูกเล่นให้พนักงานเลือกใช้ ทั้งเหรียญ +3 ที่ให้ใครก็ได้สัปดาห์ละครั้ง และเหรียญ +5 ที่ให้ได้ทุกสองสัปดาห์ ซึ่งแปลว่าพนักงานเองสามารถให้เหรียญกับใครก็ได้สูงสุด 6 ครั้งต่อเดือน

การชื่นชมกันโดยการให้เหรียญในแอปพลิเคชัน Happily.ai
ภาพแสดงการชื่นชมกันโดยการให้เหรียญในแอปพลิเคชัน Happily.ai
การชื่นชมกันโดยการให้เหรียญในแอปพลิเคชัน Happily.ai

พนักงานที่เข้าร่วมสามารถให้เหรียญกันในตอนไหน เวลาใดก็ได้ ไม่มีการบังคับ โดยเราพบว่าพนักงานกว่า 80 เปอร์เซ็นต์เคยให้เหรียญ ในขณะที่กว่าร้อยละ 97 เปอร์เซ็นต์ เคยได้รับเหรียญแล้วในช่วงระยะเวลา 10 เดือน

เรื่องนี้บอกอะไรกับเรา

  • ยิ่งคุณมีตำแหน่งสูงมากขึ้นเท่าไหร่ คุณก็ยิ่งมีโอกาสได้รับคำชื่นชมจากคนอื่น ๆ น้อยลง
  • ผู้จัดการมีแนวโน้มได้รับเหรียญ ซึ่งแทนการให้ความชื่นชมหรือขอบคุณน้อยกว่าคนอื่นๆ ถึง 19 เปอร์เซ็นต์
  • ถ้าหากคุณคิดว่า 19 เปอร์เซ็นต์เป็นตัวเลขที่ค่อนข้างห่างแล้ว CEO หรือผู้ที่มีตำแหน่งสูงมากๆ ในองค์กรมีแนวโน้มได้รับคำชื่นชมน้อยกว่าคนอื่นๆ ถึง 19 เท่า
  • ไม่ใช่เพียงแค่ระหว่างกับผู้จัดการและลูกน้อง ผู้จัดการด้วยกันเองก็ไม่ค่อยให้การชื่นชมหัวหน้าหรือผู้จัดการของตัวเองเช่นกัน
ระดับชั้นผู้จัดการ
การชื่นชมลูกน้องเปรียบเทียบกับผู้จัดการ
ผู้จัดการและลูกน้องที่ได้รับการชื่นชม
รูปที่ 1. จำนวนครั้งโดยเฉลี่ยที่ผู้จัดการและลูกน้องได้รับเหรียญ (การชื่นชม) ในช่วงระยะเวลา 10 เดือน
ซีอีโอและคนอื่น ๆ ในองค์กรที่ได้รับการชื่นชม
รูปที่ 2. จำนวนครั้งโดยเฉลี่ยที่ซีอีโอและคนอื่นๆ ในองค์กรได้รับเหรียญ (การชื่นชม) ในช่วงระยะเวลา 10 เดือน
สัดส่วนการได้รับความชื่นชมระหว่างผู้จัดการระดับสูงกับพนักงาน

เราได้สังเกตสิ่งเหล่านี้ในหลากหลายภาคส่วน ซึ่งมีโครงสร้างทางองค์กรและธุรกิจที่แตกต่างกัน ซึ่งเราสรุปได้ว่ามันเป็นเรื่องของวัฒนธรรมองค์กรที่มีส่วนขัดเกลารูปแบบของการชื่นชม และคนที่จะได้รับมัน

มันเกิดอะไรขึ้นกันล่ะ

เราทำการศึกษาและวิจัยตลาดหลักเพื่อเพิ่มความเข้าใจในเรื่องนี้ให้ดีขึ้น เราพูดคุยกับผู้จัดการและพนักงานในตำแหน่งต่างๆ เพื่อหาข้อมูลว่าเพราะอะไร หัวหน้าและผู้จัดการถึงไม่ได้รับการชื่นชมอย่างที่ควรจะเป็นนัก และเราก็ได้ข้อสังเกตที่น่าสนใจมาจำนวนหนึ่ง

  1. พนักงานทั่วไปคิดว่าพวกเขาไม่สามารถให้คำชื่นชมกับหัวหน้าหรือผู้จัดการของพวกเขาได้
    พวกเขาไม่ได้รู้สึกว่าตัวเองสามารถที่จะเริ่มชื่นชมและให้ความสำคัญต่อผู้จัดการได้ ไม่ว่าจะผ่านช่องทางใดก็ตามที่มีอยู่ พวกเขาทึกทักไปก่อนว่าชื่นชมได้แค่เพื่อนร่วมงานของตนเองเท่านั้น
  2. พนักงานทั่วไปเป็นห่วงเพื่อนร่วมงานมากกว่าผู้จัดการของตนเอง
    ถ้าพูดให้เห็นภาพแบบชัดเจนคือ มันมีความกลมเกลียวในหมู่พนักงานทั่วไป ซึ่งเป็นความกลมเกลียวที่ผู้จัดการไม่สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้ อีกทั้งพนักงานทั่วไปยังเผยว่า พวกเขาจะมีความเป็นห่วงหรือให้ความสำคัญกับเพื่อนร่วมงานมากกว่าผู้จัดการของตนเอง และพวกเขายังหวั่นใจด้วยว่าถ้าหากชื่นชมผู้จัดการอย่างออกนอกหน้า คนอื่นๆ ที่เป็นพนักงานจะมองพวกเขาอย่างไร
  3. พนักงานทั่วไปคิดว่า “ก็เป็นหน้าที่ของผู้จัดการอยู่แล้วไม่ใช่หรอที่จะต้องช่วยพวกเรา”
    เพราะหลายๆ คนไม่เข้าใจว่าเราควรเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับการชื่นชมอย่างเท่าเทียมกัน ที่ซ้ำร้ายไปกว่านั้นคือมันกลายเป็นความเชื่อที่ติดกับวัฒนธรรมองค์กรไปแล้วว่า หัวหน้ามีหน้าที่รับผิดชอบและดูแลทีม โดยที่ทีมมีหน้าที่เพียงรอรับคำสั่งไปทำอีกทีหนึ่ง และรอการชื่นชมหากผลงานที่ทำออกมานั้นเป็นผลงานที่ดีเยี่ยม ที่มันเป็นอย่างนี้เพราะการชื่นชมหัวหน้าหรือผู้จัดการไม่ได้อยู่ในวัฒนธรรมองค์กรมาตั้งแต่ต้นนั่นแหละ

แล้วมันมีวิธีการแก้ไขหรือเปล่า

เป็นเรื่องที่ทุกคนรู้กันดีอยู่แล้ว ว่าการชื่นชมและให้ความสำคัญเป็นสิ่งที่กำลังค่อยๆ กลายเป็นแก่นหลักในการทำงานมากขึ้นในทุกขณะ [1] และเพราะผู้จัดการและหัวหน้าก็ต้องการสิ่งเหล่านี้เช่นเดียวกัน เราจึงควรมานั่งดูว่ามีจุดไหนในองค์กรที่สามารถปรับเปลี่ยนได้บ้าง โดยเราแนะนำสิ่งเหล่านี้ เพื่อช่วยให้เกิดสมดุลของการชื่นชมและให้ความสำคัญมากขึ้น

  1. กำหนดเป็นมาตรฐานขององค์กร
    ถ้าคุณต้องการจะสร้างการเปลี่ยนแปลงในองค์กร คุณจะต้องทำให้มันชัดเจนและมีมาตรฐาน คุณควรจะเน้นย้ำกับพนักงานว่าการชื่นชมผู้จัดการและหัวหน้าเป็นสิ่งที่ดี เพราะมันเป็นสิ่งที่ทำให้พวกเขารู้ว่างานที่พวกเขากำลังทำอยู่มีคุณค่าและมีคนมองเห็นมัน
  2. ทุกอย่างมีจุดเริ่มต้น
    การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะนั่นหมายความว่าคุณกำลังพยายามเปลี่ยนแปลงแนวคิดของพนักงานต่อเหตุการณ์ใดๆ การเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้ทั้งยากและใช้เวลานาน แต่การมีเครื่องมือและมาตรฐานที่ดี ก็เหมือนมียากระตุ้นชั้นยอด เพราะฉะนั้น เตรียมพร้อมที่จะใช้เครื่องมือเหล่านั้น และก็บอกกับตัวคุณเองเสมอว่า “การเปลี่ยนแปลงต้องใช้เวลา”
  3. เป็นตัวอย่างที่ดี
    ไม่ใช่ทุกคนจะสามารถให้การชื่นชมหรือให้ความสำคัญกับผู้อื่นได้ตั้งแต่เกิด และมันก็มีวิธีที่ทั้งผิดและถูกผสมปนเปกันไป การชื่นชมก็เช่นกัน เราควรชื่นชมบุคคลจากความพยายาม ไม่ใช่จากผลลัพธ์ เพื่อส่งเสริมรูปแบบการทำงานที่ถูกต้องด้วย ลองทำตัวอย่างในการชื่นชมที่ดีให้ลูกทีมเห็น เพื่อที่ทุกคนจะเข้าใจ มองเห็นและแบ่งปันวิธีการเหล่านั้นกับคนอื่น ๆ ในองค์กรต่อไป สามารถดูไอเดียดีๆ ในการชื่นชมกันได้ที่ [2]

การชื่นชมและการมองเห็นคุณค่าเป็นวัฒนธรรมที่สำคัญต่อองค์กรของคุณ

เพราะมันได้กลายมาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการที่พนักงานจะมีส่วนร่วมและประสบความสำเร็จในองค์กร โดยที่ทั้งองค์กรจะต้องมีการปรับใช้มันด้วยมาตรฐานและเครื่องมือที่ดี เพื่อที่จะเห็นผลการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมองค์กรของคุณ การนำมันมาปรับใช้เรื่อยๆ จะทำให้สิ่งที่ดูเหมือนว่าต้องเป็นหัวหน้ากระทำกับลูกน้องเท่านั้นเปลี่ยนไป และกลายเป็นว่าผู้จัดการและหัวหน้าเองก็สามารถเป็นฝ่ายได้รับมันเช่นเดียวกัน

คุณคงเห็นแล้วว่าการเป็นผู้ให้และผู้รับการชื่นชมมันไม่เท่าเทียมกันเลย จากที่เห็นว่า ผู้จัดการและหัวหน้ามีแนวโน้มได้รับการชื่นชมน้อยกว่าลูกน้องสูงถึง 19 เท่า ทั้งที่บางที พวกเขานี้แหละ ที่ต้องการมันมากที่สุด

การชื่นชมไม่เพียงแต่จะทำให้ทั้งคนที่ให้และคนที่ได้รับมีความสุข แต่มันยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความพึงพอใจการทำงาน ช่วยเพิ่มผลกำไรและลดต้นทุนให้องค์กร และที่สำคัญที่สุด มันช่วยให้พนักงานซึมซับวัฒนธรรมองค์กร รวมถึงทำให้พวกเขามองเห็นและเข้าใจถึงคุณค่าของการกระทำที่มีความสำคัญต่อไป [3] รู้อย่างนี้แล้ว อย่ารอช้า ไปสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับชีวิตของพวกเขากันดีกว่า

คุณสามารถเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราเพื่อศึกษาเพิ่มเติมการใช้งานของแอปพลิเคชัน Happily.ai ได้เลย

apple

เอกสารอ้างอิง

[1] https://www.thebalancecareers.com/the-power-of-positive-employee-recognition-1919054

[2] https://blog.preciate.org/103-examples-workplace-recognition

[3] https://cuttingedgepr.com/free-articles/employee-recognition-important/

Share this post