ผลการวิจัยของเราสะท้อนให้เห็นช่องว่างขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นกับการทำความเข้าใจค่านิยมองค์กรของพนักงาน ซึ่งส่งผลต่อการที่พวกเขาจะนำมันไปปรับใช้ตามแนวทางที่กำหนด

ความสำคัญของค่านิยมองค์กร (Core Values)

"ประสิทธิภาพที่ปราศจากคุณค่า ก็เปรียบเสมือนเครื่องมือดีๆที่ไม่รู้จะนำไปใช้กับอะไร" - นักเขียนและนักลงทุนที่มีชื่อเสียง Edward De Bono [1]

ค่านิยมองค์กร (Core Values) คือแนวทางที่คอยชี้นำพนักงานและองค์กรให้เดินไปสู่เป้าหมายเดียวกันตามหลักจริยธรรมและอุดมการณ์ ค่านิยมนี้จะช่วยกำหนดว่าองค์กรควรดำเนินธุรกิจอย่างไรและจะช่วยส่งเสริมองค์กรกับเป้าหมายในการทำเพื่อสังคม [2] ซึ่งสิ่งเหล่านี้สะท้อนผ่านพันธกิจองค์กร (mission statement) ของพวกเขา

ค่านิยมจะทำให้องค์กรตระหนักถึงเส้นทางที่พวกเขากำลังเดินอยู่ และพวกเขาจะบรรลุเป้าหมายผ่านการวางแนวทางที่ชัดเจนและแน่นอน [2] ซึ่งงานวิจัยของเราได้ศึกษาความเข้าใจในค่านิยมองค์กรของพนักงาน รวมถึงการนำไปปรับใช้ ว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด

งานวิจัยและผลลัพธ์ที่ได้

เราใช้ชุดคำถามหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับค่านิยมขององค์กรเพื่อเก็บข้อมูลจากพนักงานจำนวน 592 คนจาก 4 บริษัท ซึ่งคำถามมีดังนี้

1. คุณมีความเข้าใจในค่านิยมขององค์กรหรือไม่

2. จากระดับ 0 ถึง 10 องค์กรของเรามีการนำค่านิยมไปปฏิบัติตามได้มีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด

3. ในแง่ใดที่องค์กรของเราสามารถปฏิบัติตามค่านิยมได้ดีเยี่ยม

4. ในแง่ใดที่องค์กรของเราสามารถปฏิบัติตามค่านิยมได้ไม่มีประสิทธิภาพมากพอ

5. ค่านิยมขององค์กรข้อใดที่คุณรู้สึกว่าสอดคล้องกับคุณมากที่สุดและเพราะเหตุใด

6. ค่านิยมข้อใดที่องค์กรของเราควรให้ความสำคัญมากขึ้น

7. ผู้จัดการหรือหัวหน้าของคุณดำเนินงานอย่างสอดคล้องกับค่านิยมขององค์กรหรือไม่

8. คุณสามารถเผชิญหน้ากับผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามค่านิยมขององค์กรหรือไม่

เมื่อถูกถามถึงความเข้าใจในค่านิยมขององค์กร พนักงานกว่า 92 เปอร์เซ็นต์ตอบรับว่าพวกเขามีความเข้าใจ และผลลัพธ์ที่ได้จากคำถามวัดระดับ (Likert Question) ที่ว่า “จากระดับ 0 ถึง 10 องค์กรของเรามีการนำค่านิยมไปปฏิบัติตามได้มีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด” มีค่ามัธยฐานอยู่ที่ 8 ซึ่งผลลัพธ์นี้บ่งชี้ว่าพนักงานตระหนักถึงค่านิยมประจำองค์กร เพียงแต่ยังมีบางจุดที่สามารถปรับปรุงและพัฒนาได้

การประเมินผลของความไม่สอดคล้องที่เกิดขึ้น

เราพิจารณาเพิ่มเติมด้วย 2 คำถามปลายเปิดคือ “ค่านิยมขององค์กรข้อใดที่คุณรู้สึกว่าสอดคล้องกับคุณมากที่สุดและเพราะเหตุใด” และ “ค่านิยมข้อใดที่องค์กรของเราควรให้ความสำคัญมากขึ้น” เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกที่เกี่ยวข้องกับความเข้าใจในค่านิยมขององค์กร ซึ่งเราค้นพบผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative analysis) ว่าพนักงานกว่า 69 เปอร์เซ็นต์ในบริษัทแห่งหนึ่งไม่มีความเข้าในค่านิยมขององค์กร ซึ่งขัดแย้งโดยตรงกับตัวเลข 83 เปอร์เซ็นต์ของพนักงานที่ตอบว่าพวกเขามีความเข้าใจในค่านิยมขององค์กร ข้อมูลที่ไม่สอดคล้องกันตรงจุดนี้พิสูจน์ให้เห็นว่าพนักงานจำนวนหนึ่งไม่มีความเข้าใจในค่านิยมขององค์กร เราจึงอยากแก้ไขปัญหาด้วยการนำเสนอเคล็ดลับ 5 ข้อที่จะทำให้ค่านิยมประจำองค์กรของคุณกลายเป็นแรงขับเคลื่อนพนักงาน รวมถึงพวกเขาสามารถนำไปปฏิบัติตามได้

ทำให้ค่านิยมองค์กรมีความหมายและใช้งานได้จริง ด้วย Happily.ai

อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

นี่คือ 5 วิธีที่จะช่วยให้ค่านิยมประจำองค์กรของคุณกลายเป็นแรงขับเคลื่อนพนักงาน ทำให้พวกเขายึดมั่นและนำไปปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด [3]

1. สร้างค่านิยมประจำองค์กรที่โดดเด่นและแตกต่างจากองค์กรอื่น

2. ค่านิยมประจำองค์กรควรสั้น กระชับและเข้าใจได้ง่าย

3. พูดคุยสื่อสาร, ให้การสนับสนุนและคอยเน้นย้ำค่านิยมประจำองค์กรให้พนักงานอย่างสม่ำเสมอ

4. ผลักดันให้พนักงานเดินตามแนวทางของค่านิยมประจำองค์กร

5. ชื่นชมและให้ความสำคัญกับพนักงานที่บรรลุเป้าหมายที่สอดคล้องกันกับค่านิยมประจำองค์กร

กรณีศึกษาที่น่าสนใจ

Happily.ai ของเราช่วยให้องค์กรสื่อสาร สนับสนุนพนักงานในองค์กร และคอยให้ความสำคัญและการชื่นชมแก่พนักงานที่มีการปฏิบัติงานสอดคล้องกับค่านิยมขององค์กร ผ่านการมอบเหรียญรางวัลแห่งความเป็นผู้นำที่มีเอกลักษณ์และสามารถปรับแต่งให้เข้ากับผู้รับได้ ซึ่งมันจะไปปรากฎเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จบนหน้าโปรไฟล์ของพนักงานคนนั้น

apple

เราเปรียบเทียบองค์กรที่มีการมอบเหรียญรางวัลแห่งความเป็นผู้นำกับองค์กรที่ไม่มีการใช้วิธีดังกล่าว เพื่อศึกษาความเข้าใจในค่านิยมประจำองค์กรของพนักงาน รวมถึงการปฏิบัติงานให้สอดคล้องและการนำค่านิยมไปปรับใช้อีกด้วย

บริษัท A ใช้เหรียญรางวัลที่มีการปรับแต่งให้เข้ากับค่านิยมประจำองค์กรและส่งเสริมให้หัวหน้ามอบเหรียญเหล่านี้แก่พนักงานที่ทำงานได้สอดคล้องกับค่านิยมนั้นๆ

ส่วนบริษัท B ไม่มีการกำหนดค่านิยมประจำองค์กรอย่างชัดเจน ไม่มีการใช้ระบบเหรียญรางวัล รวมถึงไม่มีการเน้นย้ำค่านิยมประจำองค์กร ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในหลายๆ องค์กร

เราศึกษาความเกี่ยวข้องกันระหว่างความสอดคล้องของค่านิยมประจำองค์กรกับคะแนนดัชนีชี้วัดความภักดีของพนักงาน (employee Net Promoter Score: eNPS) ซึ่งดัชนีนี้ก็เป็นตัวชี้วัดความผูกพันและการเป็นตัวแทนขององค์กรเช่นกัน โดยทั้งบริษัท A และบริษัท B มีค่าความสอดคล้องของค่านิยมองค์กรที่ 96 และ 32 เปอร์เซ็นต์ ส่วนค่าดัชนีชี้วัดความภักดีอยู่ที่ 27 และ 10 ตามลำดับ และเราพบว่า

  • ในช่วงเวลา 6 เดือน บริษัท A มอบเหรียญรางวัลแก่พนักงาน 313 ครั้ง ในขณะที่บริษัท B มอบเหรียญเพียง 6 ครั้ง
  • และในช่วงเวลาดังกล่าว บริษัท A มีพนักงาน 66 เปอร์เซ็นต์ที่ได้รับเหรียญรางวัล ส่วนบริษัท B มีพนักงานเพียง 1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ได้รับเหรียญรางวัล
  • บริษัท A มีค่าความสอดคล้องของค่านิยมประจำองค์กรสูงกว่าบริษัท B ถึง 3 เท่า
  • คะแนนดัชนีชี้วัดความภักดีของพนักงานในบริษัท A สูงกว่าค่ามาตรฐาน (Benchmark) ซึ่งอยู่ที่ 13 คะแนน [4] ถึง 2 เท่า ในขณะที่บริษัท B มีคะแนนต่ำกว่าค่ามาตรฐานดังกล่าว
apple

DNA ของวัฒนธรรมองค์กร

ค่านิยมประจำองค์กรเปรียบเสมือนดีเอ็นเอที่สร้างวัฒนธรรมให้องค์กรของคุณ [3] ค่านิยมเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญที่ขับเคลื่อนพนักงานและองค์กรให้เติบโตไปในทิศทางเดียวกัน การวัดความเข้าใจในค่านิยมประจำองค์กรด้วยข้อมูลเชิงปริมาณในแบบสอบถามทั่วไปไม่ได้มีความแม่นยำมากพอ และเราจำเป็นที่จะต้องพิจารณาข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงคุณภาพด้วย เพื่อให้เราเข้าใจว่าพนักงานในองค์กรมีแนวทางการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับค่านิยมประจำองค์กรมากน้อยเพียงใด

Happily.ai จะช่วยเน้นย้ำค่านิยมประจำองค์กรให้กับพนักงานของคุณผ่านระบบการมอบเหรียญรางวัลความเป็นผู้นำ และเราจะส่งเสริมให้หัวหน้าในองค์กรของคุณมอบเหรียญรางวัลให้แก่พนักงานในทุกครั้งที่พวกเขาบรรลุเป้าหมายที่สอดคล้องกับค่านิยมประจำองค์กร เราขอเชิญคุณเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา เพื่อเรียนรู้วิธีทำให้วัฒนธรรมและค่านิยมองค์กรมีความหมายได้แล้ววันนี้

เอกสารอ้างอิง

[1] https://www.workitdaily.com/must-have-company-core-values

[2] https://examples.yourdictionary.com/examples-of-core-values.html

[3] https://www.inc.com/robert-glazer/5-ways-to-make-sure-your-employees-take-your-companys-values-seriously.html

[4] https://www.questionpro.com/blog/culture-benchmarks-for-enps/

Share this post