ผู้จัดการ: บุคคลสำคัญที่ถูกกล่าวถึงน้อยเกินไป

ผู้จัดการหรือหัวหน้างานคือตำแหน่งสำคัญในองค์กรที่ได้รับการกล่าวถึงน้อยเกินไปนัก พวกเขาคือผู้ที่เป็นสะพานเชื่อมให้กลยุทธ์องค์กรนำไปสู่การปฏิบัติจริง และพวกเขาก็ร่วมลงมือปฏิบัติไปด้วย หัวหน้างานที่สามารถสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีที่เอื้อให้คนในทีมร่วมแรงร่วมใจกันทำงานและสร้าง Productivity ได้สูง เพราะพวกเขาทำงานกับทีมอย่างมีส่วนร่วมมาก ๆ และตอบสนองต่อ Feedback จากคนในทีมอยู่เสมอ ในทางตรงกันข้าม หากพนักงานต้องทำงานกับหัวหน้างานที่แย่ พวกเขาจะรู้สึกไร้คุณค่าและท้อแท้เพราะ Feedback ของพวกเขาไม่ได้รับความสนใจและใส่ใจจากหัวหน้างานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ในที่สุดพนักงานก็จะสูญเสียความเชื่อมั่นในทีมบริหารองค์กร ไม่ร่วมมือกันทำงาน และมี Productivity ต่ำ

งานวิจัยพบว่าภาวะผู้นำที่ไร้ประสิทธิภาพส่งผลให้พนักงานมีความพึงพอใจต่องานต่ำ นอกจากนี้การประสบพบเจอกับพฤติกรรม Toxic ในที่ทำงานก็เป็นหนึ่งในเหตุผลสำคัญของความพึงพอใจต่องานต่ำ เราจึงศึกษาบทบาทของหัวหน้างานในการป้องกันพฤติกรรม Toxic ในที่ทำงาน

งานศึกษาของเราประกอบด้วยพนักงานจำนวน 660 จากทั้งหมด 7 บริษัท เราประเมินหัวหน้างานผ่านความถี่ของการตอบ Feedback พนักงานและการเปิดอ่านรายงานข้อมูลเชิงลึกของทีม หัวหน้างานจะถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม โดยมีเกณฑ์ดังนี้

ยิ่งไปกว่านั้น เรายังศึกษาประสบการณ์ที่ได้พบเจอพฤติกรรม Toxic ในที่ทำงาน ผ่านคำถาม “คุณเจอพฤติกรรมที่เป็นพิษในที่ทำงานบ่อยแค่ไหน (เช่น หักหน้าคนอื่น แย่งเครดิตงาน บูลลี่ ชอบควบคุมบงการ เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง ลำเอียง เป็นต้น)”

เราพบว่า พนักงานที่ทำงานภายใต้หัวหน้างานที่ไม่มีส่วมร่วมกับทีมเลย มีแนวโน้มประสบกับพฤติกรรม Toxic ในที่ทำงานมากกว่า ภาพที่ 1 แสดงให้เห็นว่าสัดส่วนของพนักงานที่ทำงานกับหัวหน้างานที่ไม่มีส่วมร่วมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการประสบกับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์เหล่านี้ และเรายังพบว่า ขนาดขององค์กรไม่ได้มีผลใดต่อแนวโน้มความสัมพันธ์นี้ ดังที่เห็นจากภาพที่ 2 (ขนาดของวงกลมแสดงถึงขนาดขององค์กร) พฤติกรรมอัน Toxic จะเติบโตหากหัวหน้างานและผู้นำองค์กรละเลยความเห็นหรือ Feedback ของพนักงาน ไม่บริหารคนแบบเชิงรุก และไม่มีส่วนร่วมใด ๆ กับทีมเลย

นี่คือจุดเริ่มต้นของฝันร้าย เมื่อพนักงานรู้สึกขุ่นเคือง คับข้องใจ และถูกทำลายความรู้สึกไปเรื่อย ๆ ส่งผลให้พฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์อย่าง การบูลลี่ การคุกคามหรือการแบ่งแยก เติบโตและแพร่กระจายไปในองค์กร การทำงานภายใต้บรรยากาศที่ไม่เป็นมิตรเช่นนี้สร้างความทรมานและบั่นทอนจิตใจคนทำงานอย่างมาก ที่ทำงานอันแสน Toxic ลดทอนขวัญกำลังใจและสร้างความขัดแย้งที่ไม่จำเป็นขึ้น ส่งผลกระทบให้เกิดความเหนื่อยล้าทางอารมณ์และจิตใจ จนเกิดภาวะหมดไฟในการทำงาน หรือ Burnout ซึ่งเป็นปัจจัยที่ขัดขวางการสร้างทีมที่มีประสิทธิภาพสูง (High-performing teams) สุดท้ายพนักงานก็จะไม่รู้สึกผูกพันกับงานและองค์กร มีสุขภาวะ (Well-being) ย่ำแย่ รู้สึกพึงพอใจกับงานน้อยลงถึง 5 เท่า และกลายเป็นผู้ที่ไม่พอใจในองค์กร (Detractor) พวกเขาจะไม่แนะนำที่ทำงานของตัวเองให้ผู้คนรอบตัว

💡
เมื่อหัวหน้างานและผู้นำองค์กรละเลย Feedback จากพนักงานอย่างต่อเนื่องและไม่มีส่วมร่วมใด ๆ กับทีม พฤติกรรมอัน Toxic ก็จะเติบโต ซึ่งขัดขวางการสร้างทีมที่มีประสิทธิภาพสูง (High-performing teams) ในองค์กร

สมัครรับข่าวสารจาก Happily.ai เพื่อติดตามผลการศึกษาของหัวหน้างานและพฤติกรรม Toxic ก่อนใคร

ทีมบริหารควรให้ความสำคัญกับ 2 แนวทางป้องกันองค์กรของคุณจากสภาพแวดล้อมการทำงานที่ Toxic ดังต่อไปนี้

1. ฝึกฝนความฉลาดทางอารมณ์ (EQ)

ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) คือความสามารถในการเข้าใจและจัดการอารมณ์ของตัวเอง รวมทั้งมองเห็นและจัดการอารมณ์ของสมาชิกในทีมได้ EQ มีองค์ประกอบ 4 ด้าน คือ 1. การตระหนักรู้ต่อตนเอง (Self-awareness) 2. การควบคุมตนเอง (Self-management) 3. การตระหนักรู้ต่ออารมณ์ผู้อื่น (Social-awareness) และ 4. การบริหารจัดการความสัมพันธ์กับผู้อื่น (Relationship management)

หัวหน้างานที่มี EQ สูง ตระหนักรู้ว่าอารมณ์ของตัวเองสร้างผลกระทบต่อคนในทีมได้ พวกเขาสามารถถอยออกมาตั้งหลัก เพื่อควบคุมและจัดการอารมณ์ของตัวเองได้ดี มากไปกว่านั้น พวกเขายังสามารถอ่านบรรยากาศและสังเกตความเป็นไปของทีมได้อีกด้วย ดังนั้นหัวหน้างานที่มี EQ สูงจะเป็นโค้ชและเป็นที่ปรึกษาให้ทีมได้ดีกว่า และแก้ปัญหาความขัดแย้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หากหัวหน้างานต้องการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของตนเอง การทำแบบทดสอบ 360 องศาอย่างถูกต้องจะสร้างโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาได้เป็นอย่างดี

2. ใส่ใจและตอบสนองต่อ Feedback ของพนักงาน

ใคร ๆ ต่างก็ต้องการทำงานในที่ที่เสียงของตนถูกรับฟังและมีคุณค่า เมื่อหัวหน้างานได้รับ Feedback ก็ควรแสดงการรับรู้และตอบสนองกลับไป แม้จะไม่เห็นด้วยกับ Feedback นั้น ๆ ก็ตาม หัวหน้างานควรแสดงออกว่า เห็นคุณค่าในทุก Feedback ที่ได้รับ และในทุกมุมมองที่แตกต่างกัน

การยอมรับต่อเสียงวิจารณ์เป็นเรื่องที่ท้าทายที่สุด ความอดทนและความเปราะบางเป็นเรื่องที่ผู้รับคำวิจารณ์ต้องเผชิญ หัวหน้างานสามารถแสดงให้เห็นเป็นตัวอย่างได้ว่า ควรตอบรับต่อคำวิพากษ์วิจารณ์ตัวเองอย่างไร และแสดงให้เห็นว่า EQ สามารถพัฒนาและใช้ในโลกการทำงานได้จริง

ทั้งหมดทั้งมวลนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้างานและพนักงานที่มีความไว้เนื้อเชื่อใจต่อกันจะสร้างความรู้สึกผูกพันต่อองค์กรแก่พนักงาน สร้างความร่วมมือกันในทีม และสร้าง Productivity ให้แก่องค์กร

สรุป

หัวหน้างานคือกำลังสำคัญในการสร้างที่ทำงานที่ปลอดความ Toxic ด้วยการบริหารทีมแบบเชิงรุกและมีความใส่ใจต่อสมาชิกในทีม สร้างพื้นที่โอบรับ Feedback และบทสนทนาที่กระอักกระอ่วน การเผชิญกับพฤติกรรมที่ Toxic คือการปฏิสัมพันธ์ที่มีความเครียดสูงและสร้างผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อผู้ที่ต้องพบเจอ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดวัฒนธรรมที่ Toxic หัวหน้างานควรฝึกฝนความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) รวมทั้งใส่ใจและตอบสนองต่อ Feedback ที่ได้รับ หัวหน้างานที่มีประสิทธิภาพช่วยให้เกิดความร่วมมือกันทำงาน มีบรรยากาศการทำงานที่ดี และสร้างทีมที่มีประสิทธิภาพสูง (High-performing teams) ขึ้นมาได้


เราช่วยคุณได้นะ

Happily.ai ช่วยให้องค์กรพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ของคนในองค์กรได้ เราสร้างโอกาสในการฝึกฝน Human Skill อาทิ Critical Thinking, Empathy, Self-awareness, Optimism ผ่านการตอบคำถามและให้ Feedback รายวัน เรายังช่วยองค์กรสร้างวัฒนธรรมการให้และรับ Feedback และพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีในที่ทำงาน ไม่มีทางลัดใดในการพัฒนาทักษะทางอารมณ์และสังคม ความสัมพันธ์ในที่ทำงานก็เฉกเช่นเดียวกัน แต่เราช่วยคุณประกอบชิ้นส่วนสำคัญเข้าด้วยกัน (ภายในไม่กี่วัน ไม่ใช่หลักเดือน!) เราขอเชิญคุณเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราเพื่อเรียนรู้วิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในที่ทำงานของคุณ ให้ความสำคัญกับ Human Skill ได้ตั้งแต่วันนี้!

แหล่งอ้างอิง:

https://blog.happily.ai/th/enps-employee-engagement-active-people-managers/

https://blog.happily.ai/th/improve-employee-satisfaction-by-eliminating-toxic-behaviors-in-the-workplace-th/

https://blog.happily.ai/leaders-can-improve-employee-well-being-by-eliminating-toxic-behaviors-in-the-workplace-th/

https://online.hbs.edu/blog/post/emotional-intelligence-in-leadership

https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/190626-360-degree-feedback/

https://managementtraininginstitute.com/why-managers-who-accept-feedback-are-well-respected/

Share this post